นักเขียนหญิงคนแรกในประวัติศาตร์ ที่ได้รับรางวัลดับเบิลซีไรต์
ตื่นเต้นและยินดี เมื่อรางวัลซีไรต์ประเภทนวนิยายประจำปี 2561 ตกเป็นของนวนิยายชื่อยาก ‘พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ’ ทำให้พี่แหม่ม วีรพร นิติประภา นักเขียนหญิงสุดเท่กลายเป็นนักเขียนหญิงรางวัลซีไรต์สองสมัยคนแรก และเป็นนักเขียนคนที่สามที่ได้รับรางวัลซีไรต์สองครั้ง
วันนี้(5 ตุลาคม) คณะกรรมการดำเนินงานซีไรต์ ประกาศให้ ‘พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ’ ได้รับรางวัลซีไรต์ประเภทนวนิยายประจำปี 2561 ‘พุทธศาสอัสดง’ เป็นนวนิยายที่เล่นกับป-ร-ะ-เ-ด็-น-เรื่องความทรงจำ
และแสดงให้เห็นถึงความสลับซับซ้อนและความ-สั-น-ส-บ-ป-น-เ-ป-ย-อ-ก-ย้อนของความทรงจำ ตัวเรื่องเล่าถึงประวัติศาสตร์ครอบครัวชาวจีนอพยพ
ที่สับสนไปด้วยความทรงจำทั้งของผู้คน ของแมว เป็นความทรงจำที่-ค-ลุ-ม-เ-ค-รื-อ แ-ห-ว่-ง-วิ่-น ช่วนให้เรา-สั-บ-สั-น-ไ-ปในเส้นแบ่งของโลกความจริงและโลกสมมุติ
วีรพร นิติประภา นักเขียน ได้รับรางวัลซีไรต์ครั้งแรกในปี 2558 จากนวนิยายเรื่อง ‘ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต’ และมาได้รับอีกครั้งในปีนี้ ถือได้ว่าเธอได้รับรางวัลซีไรต์ประเภทนวนิยายสองสมัยซ้อน
เป็นนักเขียนหญิงคนแรกและเป็นนักเขียนคนที่สามที่ได้รับรางวัลสำคัญทางวรรณกรรมนี้สองครั้ง ก่อนหน้านี้มีชาติ กอบจิตติ ได้รับรางวัลครั้งแรกจากนวนิยายเรื่อง ‘คำพิพากษา’ ในปี 2525
และอีกครั้งจากนวนิยายเรื่อง ‘เวลา’ ในปี 2537 ในขณะที่ วินทร์ เลียววาริณ ได้รับจากนวนิยายเรื่อง ‘ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน’ ในปี 2540 และได้รับอีกครั้งในประเภทรวมเรื่องสั้นจากเรื่องสั้นแนวทดลอง ‘สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน’ ในปี 2542
ชื่อวีรพร นิติประภา เป็นที่รู้จักในวงวรรณกรรมเมื่อปี 2558 ในฐานะนักเขียนเจ้าของรางวัลซีไรต์จากนวนิยายเรื่อง ‘ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต’ ซึ่งถือเป็นนวนิยายเรื่องแรกของเธอ ต่อมาปีล่าสุด 2561
เธอก็สร้างความ-ฮื-อ-ฮ-า-เมื่อ ‘พุทธศักราชอัสดงในทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ’ นวนิยายเรื่องที่สองของเธอคว้าซีไรต์ได้อีก
หลังเขียนนวนิยายเรื่อง ‘พุทธศักราชอัสดงฯ’ ซึ่งเป็นเรื่องราวชีวิตของชาวจีนโพ้นทะเลที่มาตกค้างในแผ่นดินไทย หยั่งรากอาศัยอย่างคนแปลกหน้าในชุมชนย่านเก่าของกรุงเทพฯ
วีรพรก็ไม่ใช่คนแปลกหน้าของย่านเก่าแก่นั้นอีกต่อไป ในการศึกษาข้อมูลเพื่อเขียนวรรณกรรมชิ้นนี้ เธอกลายเป็นหนึ่งในเรี่ยวแรงที่สนับสนุนการอนุรักษ์และฟื้นฟูย่านเหล่านั้น
ปัจจุบัน วีรพรเป็นที่ปรึกษาฝ่ายศิลปวัฒนธรรมให้กับเทศกาลศิลป์ในซอยครั้งที่ 6 ‘กะดีจีน-คลองสาน ย่านรมณีย์ วิถีเจ้าพระยาในพยับแสง-สี-ศิลป์’ หนึ่งในโปรเจ็กต์ที่ช่วยอนุรักษ์และคืนชีวิตชีวาแก่ชุมชน
จากมายาคติสู่การสอบทาน ‘ทรงจำ’ ของแผ่นดิน วีรพรตั้งคำถามกับประวัติศาสตร์ของประเทศผ่านนิยายของเธอ นอกจากท้าทายทรงจำของผู้อ่านและสร้างความรู้สึกสารพัดแล้ว เธอทำ เพื่อแสวงหาความเข้าใจให้กับตัวเธอเอง
เธอเกิดกรุงเทพฯ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2505 ในครอบครัวชนชั้นกลาง มีคุณแม่เป็นครูสอนเปียโน และมีพี่ชายหนึ่งคน ความฝันวัยเด็กคืออยากเป็นนักร้องลูกทุ่ง เคยเรียนด้านเลขานุการ และไปเรียนด้าน Communication Arts ที่กรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย
กลับมาทำงานนิตยสารเกย์ชื่อ ‘นีออน’ เป็นครีเอทีฟเอเจนซี่โฆษณา ทำนิตยสารแฟชั่นชื่อ ‘Hyper’ และเปิดร้าย-ข-า-ย-สร้อยอยู่ช่วงหนึ่ง ควบคู่กับการเลี้ยง-ลู-ก-ชายหนึ่งคน ก่อนจะกลับมาเขียนนวนิยายเต็มตัว
นวนิยายเรื่องแรก ‘ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต’ ชนะรางวัลซีไรต์ประจำปี 2558 และเรื่องต่อมา ‘พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ’ ได้รับรางวัลซีไรต์สาขานวนิยาย ประจำปี 2561
ปัจจุบัน วีรพรใช้ชีวิตอยู่กับสามีที่กรุงเทพฯ ส่วนลูกชายเรียนปริญญาเอกด้านปรัชญาอยู่ที่กรุงเบอร์ลิน เยอรมนี
ที่มา : thematter ,thestandard ,praphansarn ,themomentum