X

โมเดลทำเงินของ “Snoopy” ตัวการ์ตูนอายุ 70 ปี

โมเดลทำเงินของ “Snoopy” ตัวการ์ตูนอายุ 70 ปี จนมาถึงทุกวันนี้ สร้างรายได้มหาศาลทำไมใครๆถึงอยากได้ “Snoopy”

 

โมเดลการทำเงินของ Snoopy ตัวการ์ตูนอายุ 70 ปี ทุกวันนี้ เชื่อว่าหลายคนคงเคยเห็นตัวการ์ตูน “Snoopy” ถูกนำมาตกแต่งสินค้าหลากหลายชนิด ตั้งแต่ของใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป จนถึงแบรนด์แฟชั่นหรู

เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า เจ้า Snoopy ตัวนี้ มีความเป็นมาอย่างไรทำไมถึงสามารถครองใจผู้คนทั่วโลกมาได้อย่างยาวนาน แม้มีอายุมากกว่า 70 ปีแล้วก็ตามแล้วโมเดลการทำเงินของตัวการ์ตูนอายุ 70 ปี ตัวนี้ เป็นอย่างไร ?คนไทยส่วนใหญ่อาจจำชื่อ Snoopy ได้ดี

แต่ความจริง การ์ตูนดังกล่าวมีชื่อว่า “Peanuts”Peanuts เป็นการ์ตูนช่องในหนังสือพิมพ์รายวัน เริ่มตีพิมพ์ตอนแรกเมื่อเดือนตุลาคม ปี 1950 หรือ 72 ปีที่แล้ว ต่อเนื่องมาถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2000ผู้วาดการ์ตูน Peanuts คือชาวอเมริกัน ชื่อว่า คุณ Charles

Monroe Schulzซึ่งนำแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ชีวิตในวัยเด็ก ผสมผสานเข้ากับเหตุการณ์ตามยุคต่าง ๆ มาเล่าเป็นเรื่องราวของเด็กกลุ่มหนึ่งโดยตัวละครหลักคือ หนุ่มน้อย Charlie Brown และสุนัขคู่ใจพันธุ์บีเกิล ชื่อว่า Snoopy รวมถึงเหล่าผองเพื่อนอีก

หลายคนซึ่งในสมัยที่ยังไม่มีอินเทอร์เน็ต สิ่งที่ผู้คนนิยมอ่านกัน ก็คือ หนังสือพิมพ์ ทำให้คุณ Schulz มีพื้นที่ให้ได้สื่อสารมุกตลกและแง่คิดต่าง ๆ ผ่านการ์ตูน Peanuts ทุกวัน ส่งผลให้คนติดตามผลงานของ Peanuts กันมากขึ้นเรื่อย ๆจากเดิมช่วงแรก มี

หนังสือพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา ซื้อลิขสิทธิ์การ์ตูนไปลงแค่ 7 แห่ง ในเวลาต่อมา ก็เพิ่มเป็นกว่า 2,600 แห่ง ใน 75 ประเทศ โดยมีจำนวนผู้อ่านหลายร้อยล้านคนทั่วโลกนอกจากนั้น ยังมีการนำเอา Peanuts ไปสร้างเป็นแอนิเมชัน ฉายในโทรทัศน์ตั้งแต่ปี 1965

รวมถึงสร้างเป็นภาพยนตร์ในโรง ซึ่งภาคล่าสุดอย่าง The Peanuts Movie ออกฉายในปี 2015 ใช้ต้นทุนสร้าง 3,400 ล้านบาท แต่ทำรายได้จากการขายตั๋วได้สูงถึง 8,400 ล้านบาทด้วยเหตุนี้ หลายฝ่ายจึงยกย่องคุณ Schulz ให้เป็นนักวาดการ์ตูน ผู้ทรง

อิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ โดยเขามีทรัพย์สินมูลค่าประมาณ 34,000 ล้านบาท และเสียชีวิตในปี 2000 ด้วยวัย 77 ปีแล้วการ์ตูน Peanuts ไปเกี่ยวข้องกับสินค้าต่าง ๆ ได้อย่างไร ?กลยุทธ์ที่ Peanuts ใช้ต่อยอดจากความนิยมของการ์ตูน คือการไป Collaboration หรือจับคู่ร่วมกับแบรนด์สินค้าต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาด และสร้างรายได้จากค่าลิขสิทธิ์ในระยะยาวในปี 1955 บริษัท Kodak เป็นรายแรกที่ขอใช้ตัวการ์ตูน Peanuts ในหนังสือโปรโมตกล้องถ่ายรูป และหลังจากนั้น ก็มีหลาย

บริษัทเริ่มซื้อลิขสิทธิ์ไปผลิตของเล่นโดยเฉพาะลิขสิทธิ์ของตัวละครยอดนิยมอย่าง Snoopyต่อมา Peanuts ได้ขยายความร่วมมือไปสู่วงการแฟชั่นโดยนับตั้งแต่ปี 1984 เป็นต้นมา มีการจัดแสดงนิทรรศการ Snoopy and Belle in Fashion เป็นประจำทุกปีเพื่อ

ให้ดีไซเนอร์ชื่อดัง ออกแบบเสื้อผ้ามาสวมใส่บนหุ่น Snoopy ซึ่งช่วยให้ตัวการ์ตูนกลมกลืนกับเทรนด์แฟชั่นอยู่เสมอพอเป็นเช่นนี้ ในช่วงทศวรรษ 1990s ทั้ง Snoopy และตัวละครอื่น ๆ จึงได้มีโอกาสไปปรากฏตัวอยู่ในคอลเลกชันเสื้อผ้าของแบรนด์แฟชั่นหรูเช่น

Iceberg จากประเทศอิตาลี และ Jean-Charles de Castelbajac จากประเทศฝรั่งเศสและในปี 1996 ก็ได้มีการร่วมมือครั้งสำคัญคือ การเริ่มออกคอลเลกชันเสื้อผ้ากับแบรนด์ฟาสต์แฟชั่นอย่าง H&M ซึ่งทำให้ Peanuts เข้าถึงผู้บริโภคในวงกว้างมากขึ้น เพราะสินค้ามีราคาไม่แพงจนต่อมา หลายบริษัทได้ให้ความสนใจมาจับมือกับ Peanuts กันอีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่นแบรนด์แฟชั่น Marc Jacobs, Gap, Lacoste, Gucci, Supremeแบรนด์นาฬิกา Omega, Swatch, Timexซึ่งปัจจัยที่ทำให้ Snoopy

และตัวละครอื่น ๆ ปรับตัวเข้ากับสินค้าได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากลายเส้นของการ์ตูนไม่ได้มีรายละเอียดที่ซับซ้อนรวมทั้งมันยังมีเสน่ห์ความน่ารักในตัวเอง จนบางครั้งไม่ได้เปลี่ยนดีไซน์จากภาพออริจินัลด้วยซ้ำไปทั้งนี้ Peanuts มีการ Collaboration กับแบรนด์สินค้าต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า 700 ราย ในกว่า 100 ประเทศโดยในปี 2021 มีรายได้ค่าลิขสิทธิ์อยู่ที่ประมาณ 4,300 ล้านบาทนอกจากนั้น ยังมีการเจรจาตกลงกับ Apple TV+ เพื่อฉายรีรันแอนิเมชัน Peanuts ให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้จัก ซึ่งน่าจะช่วยรักษาความนิยม และ

เพิ่มโอกาสในการร่วมธุรกิจกับแบรนด์ใหม่ ๆ ได้อย่างต่อเนื่องแล้วปัจจุบัน ใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ Peanuts ?เดิมที บริษัท United Media สื่อในสหรัฐอเมริกา ที่ตีพิมพ์การ์ตูน Peanuts มาตั้งแต่แรก เป็นผู้ดูแลลิขสิทธิ์มายาวนานกว่า 60 ปีแต่ในปี 2010

บริษัทได้ตัดสินใจขายลิขสิทธิ์ Peanuts ทั้งหมด มูลค่าราว 6,000 ล้านบาท ให้กับบริษัทร่วมทุนจัดตั้งใหม่ ชื่อว่า “Peanuts Worldwide” ซึ่งมีบริษัท Iconix Brand Group ถือหุ้น 80% และบริษัท Charles M. Schulz Creative Associates ถือ

หุ้น 20% ต่อมาในปี 2017 บริษัทสื่อสัญชาติแคนาดา ชื่อว่า WildBrain ได้ซื้อลิขสิทธิ์การ์ตูนหลายเรื่องภายใต้เครือ Iconix Brand Group ซึ่งรวมถึงหุ้น 80% ของบริษัท Peanuts Worldwide ด้วยจากนั้นในปี 2018 บริษัท Sony Music Entertainment Japan ก็ได้เข้ามาซื้อหุ้นของ Peanuts Worldwide จาก WildBrain ในสัดส่วน 49% (จาก 80% ที่ WildBrain ถือหุ้นใน Peanuts Worldwide)คิดเป็นมูลค่าราว 6,400 ล้านบาทเท่ากับว่าตอนนี้ สัดส่วนความเป็นเจ้าของของ

Peanuts Worldwide คือ- WildBrain 41%- Sony Music Entertainment Japan 39%- Charles M. Schulz Creative Associates 20%และบริษัท Peanuts Worldwide ก็มีมูลค่าโดยประเมินที่ราว 16,000 ล้านบาทนอกจากนั้น WildBrain ยังได้ทำข้อตกลงกับบริษัท Global Brand Management Group ให้เข้ามาเป็นผู้ดูแลลิขสิทธิ์ของ Peanuts ในทวีปเอเชีย นอกเหนือจากในญี่ปุ่น อีกด้วยซึ่งในประเทศไทย ก็จะมีบริษัท โกลบอล แบรนด์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้คอยดูแลลิขสิทธิ์ตัว

การ์ตูน Peanuts นั่นเองจากเรื่องราวนี้เราจะเห็นได้ว่าถึงแม้การ์ตูน Peanuts ถูกสร้างมานานหลายปีแล้ว แต่ก็ยังคงเป็นจุดสนใจของคนทั่วโลกได้อยู่เสมอสาเหตุเพราะ พวกเขามีการต่อยอดธุรกิจ ด้วยการทำให้ Snoopy และตัวละครต่าง ๆ เข้าไปอยู่ในสายตาของ

ผู้บริโภคตลอดเวลา จากการจับมือร่วมกับสินค้ามากมายหลายประเภท จนกลายเป็นมูลค่าทางการตลาดอันแข็งแกร่งจึงไม่น่าแปลกใจ ถ้านับต่อจากนี้ Peanuts จะสามารถสร้างรายได้ค่าลิขสิทธิ์ได้อย่างต่อเนื่องและเป็นการ์ตูนในตำนาน ที่คนรุ่นถัดไปอีกหลายปีข้างหน้า ยังรู้จักและชื่นชอบต่อไป..หนังสือ BRANDING THE NATION หนังสือที่เล่าถึงการสร้างแบรนด์ของแต่ละประเทศที่ทำให้ แต่ละประเทศเป็นแบบทุกวันนี้เช่น ทำไมเยอรมนีเป็นประเทศแห่งรถยนต์ ทำไมฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งแบรนด์หรู