X

ฟาร์มจระเข้ในไทย ที่เลี้ยงจระเข้เป็น 1,000,000 ตัว

ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ

สรุปธุรกิจ ฟาร์มจระเข้ในไทย ที่เลี้ยงจระเข้เป็น 1,000,000 ตัว เลี้ยงไปเพื่ออะไรและรายได้ดีไหม

 

สรุปธุรกิจ ฟาร์มจระเข้ในไทย ที่เลี้ยงจระเข้เป็น 1,000,000 ตัว รู้หรือไม่ว่าประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่เลี้ยงจระเข้เพื่อส่งออกสูงสุดในโลกโดยมีจระเข้ไม่ต่ำกว่า 1,000,000 ตัว และมีฟาร์มมากกว่า 1,000 แห่งสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับ

ประเทศไทย ปีละเป็นพันล้านบาทแล้วอุตสาหกรรมฟาร์มจระเข้ในบ้านเรา มีหน้าตาเป็นอย่างไร ?Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียนที่มีผู้ใช้งาน 2 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆแล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณจุด

เริ่มต้นของการทำฟาร์มเลี้ยงจระเข้ในประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นในปี 2489โดยคุณอุทัย ยังประภากร ผู้ก่อตั้งฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการเขาคนนี้ เรียกได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกการเพาะเลี้ยงจระเข้ในบ้านเราโดยในช่วงแรกยังเป็นการเพาะเลี้ยงเพื่อการค้าและการท่อง

เที่ยวเท่านั้นแต่ต่อมามีการพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง และครบวงจรมากขึ้นโดยฟาร์มรายใหญ่จะมีการเพาะลูกจระเข้ และส่งให้ฟาร์มรายย่อยรับเลี้ยงต่อเพื่อทำหน้าที่ในการขุนจระเข้ให้โตเต็มที่ เหมาะแก่การนำไปใช้งานต่อหลังจากนั้น ฟาร์มใหญ่ก็จะรับซื้อคืน หรือไม่ก็ขายให้โรงงานชำแหละแยกชิ้นส่วนสำหรับจำหน่าย และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆหนึ่งในวัตถุดิบ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาดโลกคือ “หนังจระเข้”ที่นำไปใช้ผลิตเครื่องหนัง โดยเฉพาะแบรนด์หรูราคาแพงทำให้หนังจระเข้ มีราคาเพิ่มสูงขึ้น ตลอด

ระยะเวลาที่ผ่านมาพอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงทำให้เกษตรกรหลายคน เริ่มสนใจหันมาเลี้ยงจระเข้กันมากขึ้นจนกลายเป็นอุตสาหกรรมฟาร์มจระเข้ในไทยเช่นทุกวันนี้ปกติแล้ว จระเข้ที่นำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจของไทยนั้น มี 2 ชนิด ได้แก่- จระเข้น้ำจืด หรือ จระเข้พันธุ์ไทย- จระเข้น้ำเค็ม หรือ จระเข้ตีนเป็ดอย่างไรก็ตาม ในไทยส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงจระเข้น้ำจืด มากกว่าจระเข้น้ำเค็มโดยเหตุผลที่เป็นจระเข้น้ำจืด ก็เพราะความสามารถในการเจริญพันธุ์ที่รวดเร็วกว่าทีนี้ พอเราพูดถึงฟาร์มจระเข้แล้วเพื่อที่จะได้เข้าใจอุตสาหกรรมนี้

กันมากขึ้นเรามาดูกันว่าฟาร์มจระเข้ในประเทศไทย มีกี่ประเภทเริ่มต้นที่ฟาร์มจระเข้ ที่เกษตรกรส่วนใหญ่นิยม นั่นคือ “ฟาร์มจระเข้ขุน”ฟาร์มจระเข้ขุน เป็นฟาร์มที่ใช้สำหรับเลี้ยงลูกจระเข้ ที่มีอายุประมาณ 2 ถึง 3 เดือนจนกว่าจะได้ขนาดตามที่ตกลงไว้กับฟาร์มที่เรารับซื้อลูกจระเข้มา เพื่อทำการขายคืนข้อดีของการทำฟาร์มลักษณะนี้ คือดูแลไม่ยาก และใช้เงินทุนน้อยกว่าฟาร์มประเภทอื่นเนื่องจากจระเข้ช่วงอายุเท่านี้ มีความแข็งแรง และสามารถกินอาหารเองได้แล้วเรายังสามารถใช้ซากสัตว์ เป็นอาหารให้แก่จระเข้ได้เลยเรื่องนี้

จึงทำให้ฟาร์มหลายแห่ง รับกำจัดซากสัตว์จากปศุสัตว์ด้วยซึ่งถือเป็นการได้ประโยชน์ 2 ต่อต่อแรกก็คือ มีต้นทุนอาหารที่ลดลงต่อที่สองก็คือ นับเป็นการสร้างรายได้เพิ่มอีกช่องทางหนึ่งส่วนปศุสัตว์ก็ได้ประโยชน์ จากการมีคนช่วยทำลายซากสัตว์ที่เสียชีวิตลงอีกอย่าง

ฟาร์มจระเข้ขุนไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง หรือความเชี่ยวชาญใด ๆ ในการเลี้ยงเลย ต้นทุนจึงค่อนข้างต่ำ จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมผู้ประกอบการรายย่อยส่วนใหญ่ จึงนิยมทำฟาร์มในลักษณะนี้ต่อมา ก็จะเป็นประเภทฟาร์มจระเข้ ที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ขึ้นมา

เลือกทำเริ่มกันที่ “ฟาร์มจระเข้เพาะพันธุ์” เป็นฟาร์มที่ใช้สำหรับเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ เพื่อเพาะขายตัวลูกความยุ่งยากคือต้องใช้เงินทุนสูง และใช้ความเชี่ยวชาญพอสมควรหากเริ่มเลี้ยงตั้งแต่ลูกจระเข้แรกเกิด ต้องใช้เวลานานถึง 10 ปี กว่าจะเริ่มโตเป็นพ่อแม่พันธุ์ได้ขณะที่หากซื้อจระเข้พ่อแม่พันธุ์ ก็จะมีราคาที่สูง โดยคู่หนึ่งไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท

ส่วนของบ่อเพาะพันธุ์ ก็ต้องมีขนาดที่ใหญ่ เพราะไม่สามารถเลี้ยงให้หนาแน่นเหมือนกับจระเข้ขุนได้เวลาในการคืนทุนก็จะยาวนานกว่า เพราะจระเข้วางไข่ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ครั้งละ 30 ใบต่อพ่อแม่พันธุ์ 1 คู่ และยังมีโอกาสที่ไข่นั้นจะมีเชื้อหรือไม่มีเชื้อก็ได้
ซึ่งอัตราการฟักตัว และอัตราการรอดตัวของลูกจระเข้ ก็ขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้เลี้ยงอีกจากความยุ่งยากที่พูดมา ดังนั้น คนที่จะทำฟาร์มจระเข้เพาะพันธุ์ จำเป็นต้องมีเงินทุนพอหมุนเวียนได้ในระยะยาว และต้องอยู่ในอุตสาหกรรมมาระดับหนึ่งแล้ว ถึงจะสามารถ

ทำธุรกิจรอดต่อมาคือ “ฟาร์มจระเข้แบบครบวงจร”เหมือนกับ 2 ฟาร์มก่อนหน้านี้รวมกัน คือมีพ่อแม่พันธุ์สำหรับเพาะลูก และมีการขุนลูกแต่ก็จะมีส่วนเสริมอีกอย่าง ตรงที่มีส่วนของฝ่ายผลิตผลิตภัณฑ์ด้วยเช่น โรงงานฟอกหนัง หรือโรงงานผลิตหนังจระเข้อย่างไรก็ดี
ฟาร์มบางแห่งอาจส่งลูกจระเข้ ให้เกษตรกรเลี้ยงต่อก็ได้ โดยการใช้เทคโนโลยีและเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งเมื่อได้ขนาดตามที่ต้องการ ฟาร์มก็จะรับซื้อคืนทันทีและสุดท้าย คงเป็นฟาร์มที่เราน่าจะคุ้นเคยมากที่สุดเพราะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในวัยเด็กของใครหลายคน

นั่นคือ “ฟาร์มจระเข้เพื่อการท่องเที่ยว”โดยฟาร์มลักษณะนี้ จะมีจระเข้หลากหลายขนาด แต่มีจำนวนที่ไม่เยอะเพราะมีแค่ให้พอคนชมเท่านั้น เงินทุนส่วนใหญ่จึงถูกใช้ไปกับการตกแต่งสถานที่มากกว่าฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ ก็ถือเป็นหนึ่งในฟาร์มจระเข้

เพื่อการท่องเที่ยวเช่นกันหลังจากรู้จักประเภทของฟาร์มกันแล้วเรามาดูผลผลิตจากอุตสาหกรรมฟาร์มจระเข้กันสำหรับจระเข้มีชีวิต จะถูกแบ่งเป็น- ลูกพันธุ์- จระเข้รุ่น หรือจระเข้ที่เหมาะแก่การเชือด- พ่อแม่พันธุ์สำหรับจระเข้ที่ถูกเชือด ก็ต้องบอกว่า ทุกชิ้นส่วนของ

จระเข้ สามารถนำมาขายได้ทั้งหมดเลยเริ่มจากส่วนเนื้อ จะแบ่งออกเป็น1. ขายซาก โดยเอาเฉพาะเครื่องในและหนังออกเท่านั้น2. ขายเนื้อสดแช่แข็ง ชำแหละเป็นส่วน ๆ3. ขายเนื้ออบแห้งส่วนของหนังจระเข้ นิยมขายเป็นหนังดิบแช่เกลือ ส่งไปยังโรงฟอกหนัง
โดยหนังแผ่นท้อง จะมีราคาสูงกว่าหนังแผ่นหลัง เพราะมีสีสันสวยงามกว่ากระดูกและฟัน มีการนำไปบดเป็นส่วนผสมของยากวาดคอเด็ก หรือทำเป็นเครื่องประดับเลือดและเครื่องในของจระเข้ก็มีการขายเช่นกัน เพราะมีคนนำไปใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับทำยาแผน

โบราณและยาจีนจากที่เล่ามาทั้งหมดนี้เห็นได้เลยว่า จระเข้เป็นสัตว์ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ตั้งแต่ทำเป็นฟาร์มเพื่อความบันเทิง ไปจนถึงการนำหนังไปทำสินค้า หรือแม้กระทั่งยาโบราณแล้วปัจจุบัน สถานการณ์อุตสาหกรรมฟาร์มจระเข้ เป็นอย่างไร ?แม้ว่าก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในปี 2561 และปี 2562ประเทศไทยส่งออกสินค้าจระเข้ เป็นมูลค่ารวมมากถึง 7,000 ล้านบาท เฉลี่ยรายได้ปีละราว 3,500 ล้านบาทอย่างไรก็ตาม ในปี 2563 มูลค่าการส่งออกกลับเหลือเพียง 785 ล้านบาท

เพราะติดปัญหาCV 19ทำให้จระเข้ที่อยู่ในช่วงเหมาะแก่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กว่า 600,000 ตัว ไม่สามารถจำหน่ายและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้ซึ่งเมื่อดูจากตัวเลขแล้ว ก็นับว่าเป็นการถดถอยอย่างหนัก สำหรับอุตสาหกรรมสินค้าจระเข้ในระยะหลัง ยังต้องเผชิญกับกระแสที่ผู้คนหลายประเทศ เริ่มหันมาเลิกใช้สินค้าที่ทำจากหนังสัตว์ก็ถือเป็นอีกเรื่องที่น่าติดตามเหมือนกันว่า อุตสาหกรรมฟาร์มจระเข้ในบ้านเรา จะเป็นอย่างไรต่อไป และประเทศไทย จะยังคงรักษาความเป็นผู้นำ ในอุตสาหกรรมฟาร์มจระเข้ในโลกนี้ต่อไป ได้หรือไม่..