เสื้อผ้าดิจิทัลเป็นเทรนด์แฟชั่น แห่งอนาคต ปัจจุบัน การซื้อชุดที่ใส่ไม่ได้จริง ในราคา “หลักแสน”
เสื้อผ้าดิจิทัล ใส่ไม่ได้จริง แต่ทำไมเป็นเทรนด์แฟชั่น แห่งอนาคต ปัจจุบัน การซื้อชุดที่ใส่ไม่ได้จริง ในราคา “หลักแสน” อาจไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรและที่สำคัญ เรื่องนี้กำลังเป็นโอกาสทางธุรกิจ ที่หลาย ๆ บริษัทมองว่า จะมาแทนที่อุตสาหกรรม Fast Fashion
ทำไมธุรกิจเสื้อผ้าดิจิทัลถึงน่าสนใจ ?แล้วตลาดนี้จะกลายมาเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตได้หรือไม่ ? ถ้าหากพูดถึงการแต่งตัวในโลกออนไลน์ หลายคนอาจจะนึกถึง การแต่งตัวให้ตัวละครในเกม
แม้ว่า “สกิน” หรือ “เสื้อผ้า” ที่เราใส่ให้ตัวละครในเกม จะไม่ได้ช่วยให้ตัวละครของเราเก่งขึ้นแต่ถ้าหากว่ามันทำให้ตัวละครของเราสวยขึ้น ก็มีคนที่พร้อมจะจ่ายเงินเพื่อสิ่งนั้นอย่างไรก็ตาม เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล
และหลาย ๆ ธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับออนไลน์ เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตของมนุษย์มากขึ้นจากเดิมที่คำว่า Metaverse, Blockchain, NFTs หรือ Web 3.0 อาจรู้จักกันในกลุ่มเล็ก ๆ ก็กลายเป็นคำที่ใครๆ
ก็พูดถึงและกลายเป็นว่า “สังคมในโลกออนไลน์” ก็เข้ามามีบทบาทในชีวิตของมนุษย์มากขึ้นด้วยส่งผลให้หลายบริษัทที่จับเทรนด์ได้ก่อน เริ่มทำธุรกิจที่ในอดีตบางคนอาจยังไม่เข้าใจในขณะนั้นอย่าง The Fabricant
บริษัทที่ให้บริการด้านแฟชั่นดิจิทัล ก็ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2018 หรือCarlings บริษัทค้าปลีกสินค้าผ้ายีน ก็หันมาผลิตเสื้อผ้าดิจิทัลเป็นเจ้าแรก ๆ ในปี 2019และ DressX แพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสเสื้อผ้าดิจิทัล ที่ก่อตั้งในปี
2020ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่ Facebook จะประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น Meta ในปี 2021 จนทำให้คำว่า “Metaverse” เข้าไปอยู่ในวิสัยทัศน์ของหลาย ๆ บริษัทนอกจากนั้น ในด้านพฤติกรรมของผู้บริโภคเอง ก็เริ่มเปลี่ยน
ไปตามเทคโนโลยีที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตอย่างโซเชียลมีเดีย ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมแบบ “ซื้อ-โพสต์-คืน”หรือก็คือ ลูกค้าซื้อสินค้า และนำไปใส่ถ่ายรูปแบบไม่แกะป้าย ก่อนจะนำสินค้าไปคืนที่ร้าน
จากเรื่องนี้ทำให้แบรนด์ชื่อ More Dash ทดลองพฤติกรรมของลูกค้า ด้วยการเปิดร้านแบบพ็อปอัป เป็นสตูดิโอให้คนเข้ามาใส่เสื้อ แล้วถ่ายรูป ถ่ายวิดีโอ เพื่อสร้างคอนเทนต์ในราคา 300 บาทโดยบริษัทให้มุมมองว่า
“ลูกค้าไม่ได้อยากได้เสื้อผ้า แต่อยากได้คอนเทนต์สำหรับลงบนโซเชียล” ซึ่งก็มีลูกค้าที่ให้ความสนใจไม่น้อยประกอบกับเรื่อง ปัญหาของอุตสาหกรรม Fast Fashion ในปัจจุบัน ที่เน้นการผลิตจำนวนมาก ๆ ใช้วัสดุ
ที่อาจไม่ได้ดีมาก แต่ราคาถูกและออกสินค้าได้รวดเร็วก็ได้ทิ้งภาระอันหนักอึ้งให้กับโลกของเรา เช่น มลพิษจากการผลิต, ขยะแฟชั่น รวมถึงปัญหาการกดขี่แรงงานดังนั้น เมื่อรวมปัจจัยเหล่านี้เข้าด้วยกัน“เสื้อผ้าดิจิทัล”
จึงกลายเป็นทางออก ในด้านผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการผลิต แถมยังตอบโจทย์ลูกค้า ที่ต้องการเพียงแค่รูปถ่ายลงในโซเชียลมีเดียด้วยที่สำคัญ ด้วยพฤติกรรมมนุษย์ที่เริ่มหันมาสนใจการสร้างตัวตน หรือสร้างภาพลักษณ์
มากขึ้นเสื้อผ้าดิจิทัล ก็น่าจะช่วยขยายกรอบความคิดสร้างสรรค์ด้านการดีไซน์ และทำลายกำแพงต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นกับเสื้อผ้าที่ต้องสวมใส่จริงเช่น เดรสที่มีไฟลุกตรงปลายกระโปรง หรือชุดที่มีแถบข้อมูลสีเขียวลอยออกมา
เหมือนในภาพยนตร์เรื่อง The Matrixอ่านมาถึงตรงนี้ บางคนอาจเริ่มสงสัยว่า เสื้อผ้าดิจิทัล กับ NFT ที่เป็นเหมือนงานศิลปะในวงการบล็อกเชนหรือคริปโทฯ คือสิ่งเดียวกันหรือไม่
คำตอบคือ มี NFT ที่เป็นเสื้อผ้าดิจิทัลแต่เสื้อผ้าดิจิทัลทุกตัว ก็ไม่ใช่ NFT เสมอไปเนื่องจาก NFT หรือ Non Fungible Token แปลเป็นไทยว่า “สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะตัว”ทำให้ NFT นั้นแตกต่างจากการ
เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลทั่วไป ตรงที่ข้อมูลเจ้าของกรรมสิทธิ์ จะถูกบันทึกลงในเครือข่ายที่เรียกว่า Blockchain ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถถูกแก้ไขได้และ NFT ที่ว่านี้จะเป็นอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะรูปถ่าย วิดีโอ
คลิปเสียง รวมถึงเสื้อผ้าดิจิทัลตัวอย่าง NFT ที่เป็นเสื้อผ้าดิจิทัล เช่น คอลเลกชัน Collezione Genesi ของแบรนด์ Dolce & Gabbana ที่มีทั้งหมด 9 ชิ้น เป็นเสื้อผ้าและเครื่องประดับที่วางขายบนแพลตฟอร์ม
UNXD ซึ่งปัจจุบันทุกชิ้นมีเจ้าของเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 180 ล้านบาทส่วนเสื้อผ้าดิจิทัลที่ไม่ใช่ NFT จะเป็นเหมือนกับสินค้าทั่วไป ไม่ต่างจากการซื้อเสื้อผ้าตามร้าน มีทั้งแบบเป็น AR,
แบบที่สวมใส่ให้กับอวทาร์ หรือตัวแทนของเราในโลกเสมือน รวมถึงแบบอื่น ๆเช่น แบรนด์ Tribute ที่ลูกค้าสามารถเลือกแบบชุดที่ต้องการ และส่งรูปถ่ายของตัวเองไปให้ทางแบรนด์
หลังจากนั้นแบรนด์จะตัดต่อรูปของเรา ให้สวมเสื้อที่เราทำการสั่งซื้อไปอีกส่วนที่ทำให้เสื้อผ้าดิจิทัลทั่วไปกับ NFT ต่างกันก็คือ NFT ถือเป็นสินทรัพย์รูปแบบหนึ่ง ที่สามารถนำมาขายต่อ หรือเก็งกำไรได้ ไม่ต่างจาก
ของสะสมในโลกความจริงแต่เสื้อดิจิทัลธรรมดาบางประเภท อาจไม่สามารถขายต่อได้ เพราะสิ่งที่เราได้ คือ “รูปภาพเราใส่เสื้อ”ซึ่งเป็นไปตามที่กล่าวไปข้างต้นว่า ลูกค้าต้องการแค่คอนเทนต์ ไม่ได้ต้องการเสื้อผ้าจริง ๆ
แล้วกลุ่มเป้าหมายของสินค้าแฟชั่นดิจิทัลคือใคร ?เรื่องนี้คุณ Michaela Larosse นักกลยุทธ์จากบริษัท The Fabricant มองว่า กลุ่มเป้าหมายหลัก ก็คือ “คนรุ่นใหม่” โดยเฉพาะคน Gen Z ที่คุ้นเคยกับการใช้ชีวิต
ทั้งรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์และให้ความสำคัญกับชีวิตทั้งสองด้านใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะคนที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในโลกออนไลน์จะยิ่งให้ความสำคัญกับการแสดงตัวตนบนโลกออนไลน์มากกว่าปกติแม้ว่า “เสื้อผ้าจริง”
จะเป็นธุรกิจที่นับเป็นหนึ่งใน “ปัจจัยสี่” ที่ไม่ว่าอย่างไรมนุษย์ก็ต้องใส่ และคงไม่มีอะไรมาแทนที่ได้ง่าย ๆแต่ “เสื้อผ้าดิจิทัล” ก็เป็นอีกทางเลือกของลูกค้าที่อยากจะตามเทรนด์ แต่ไม่อยากจะทำลายโลกและก็ไม่แน่ว่า
ในอนาคต เมื่อสัดส่วนการใช้ชีวิตระหว่างโลกจริงกับโลกเสมือนเปลี่ยนไปตู้เสื้อผ้าของเรา ก็อาจมี “เสื้อผ้าดิจิทัล” มากกว่า “เสื้อผ้าจริง” ก็เป็นได
ขอบคุณข้อมูลจาก ลงทุนเกิร์ล