X

SunSweet ทำความญี่ปุ่นให้กลายเป็นความเป็นไทย

SunSweet สินค้าเกษตร ให้เซเว่นจากความเป็นญี่ปุ่นเปลี่ยนเป็นคนไทย 100%

 

รู้จัก SunSweet บริษัทที่ผลิตข้าวโพด มันหวาน และสินค้าเกษตร ให้เซเว่น รู้หรือไม่ ประเทศไทย คือ ผู้ส่งออก ข้าวโพดหวานแปรรูป ปริมาณมากที่สุดในโลกส่วน “บริษัทไทย” ที่ส่งออกข้าวโพดหวานมากที่สุดในประเทศ ก็คือ “SunSweet” ซึ่งปัจจุบันมี

มูลค่าบริษัทถึง 3,200 ล้านบาทแม้ชื่อจะไม่คุ้นหู แต่หลายคนก็อาจเคยเห็นสินค้าของเขาแบบไม่รู้ตัว เวลาที่เดินเข้าร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-Elevenทั้งข้าวโพด, มันหวานญี่ปุ่น, มันม่วงญี่ปุ่น, ถั่วต้มลายเสือ

ไปจนถึงธัญพืช ภายใต้แบรนด์ KC ซึ่งนี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของธุรกิจ SunSweet เท่านั้นแล้วธุรกิจ SunSweet น่าสนใจอย่างไร ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟังบริษัท SunSweet มีจุดเริ่มต้นมาจากธุรกิจผลไม้กระป๋อง

ที่ชื่อว่า “เคซี เชียงใหม่ อุตสาหกรรมอาหาร” และในขณะนั้น มีผู้ถือหุ้นคนสำคัญ อย่าง “มาลีสามพราน” หรือปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ มาลีกรุ๊ป เจ้าของน้ำผลไม้ Malee นั่นเองต่อมา คุณองอาจ กิตติคุณชัย

CEO คนปัจจุบัน และครอบครัว ก็ได้ซื้อหุ้นจาก มาลีกรุ๊ป ทั้งหมด ซึ่งรวมแล้วเป็นจำนวนหุ้นทั้งหมด 25%ก่อนจะเริ่มก่อตั้งบริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) หลังจากนั้น เพียง 1 ปีรวมถึงมีการขยายกิจการสำ
หรับวางขายสินค้าอื่น ๆ เช่น หอมหัวใหญ่ ลำไย ลิ้นจี่ และผักสด สำหรับส่งออกไปยังต่างประเทศแต่ด้วยข้อจำกัดที่ผักและผลไม้บางชนิด ต้องขึ้นอยู่กับฤดูกาล แถมบริษัทก็ยังต้องมาเผชิญกับวิกฤติต้มยำกุ้ง

จนทำให้บริษัทต้องเริ่มหันมาปลูก “ข้าวโพดหวาน” ที่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี และทำให้บริษัทเดินหน้าฝ่าวิกฤติในครั้งนั้นไปได้ซึ่งต่อมา ในปี 2550 บริษัทก็หันมาขาย “ข้าวโพดหวาน” เป็นธุรกิจหลัก

ของบริษัท จนถึงปัจจุบันโดยปัจจุบันบริษัท SunSweet ได้จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้น SET และมีมูลค่าบริษัทถึง 3,200 ล้านบาทและถึงแม้บริษัทจะต้องเผชิญกับวิกฤติโรคระบาด และปัญหาทางเศรษฐกิจ

หลายอย่างในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็ยังสามารถทำให้ผลประกอบการเติบโตขึ้นได้ตลอดรายได้ของบริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน)ปี 2562 ทำรายได้ 1,925 ล้านบาท ขาดทุน 42 ล้านบาทปี 2563 ทำรายได้

2,618 ล้านบาท กำไร 193 ล้านบาทปี 2564 ทำรายได้ 2,988 ล้านบาท กำไร 209 ล้านบาทที่น่าสนใจ คือ ตลอดทั้ง 3 ปีนี้ รายได้หลักกว่า 80% ของบริษัท มาจาก “ต่างประเทศ” ซึ่งแบ่งได้เป็น
อันดับ 1 เอเชียอันดับ 2 ยุโรปอันดับ 3 ตะวันออกกลางส่วนโมเดลธุรกิจของ SunSweet จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่-OEM หรือก็คือ การรับจ้างผลิตให้กับแบรนด์อื่น ๆคิดเป็น 62% ของรายได้

ทั้งหมดในปี 2564-ผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ KC ของบริษัทเองคิดเป็น 34% ของรายได้ทั้งหมดในปี 2564พออ่านมาถึงตรงนี้ เราคงจะเห็นแล้วว่า ธุรกิจหลักของ SunSweet จะเน้นไปที่การส่งออก และผลิต

ในนามบริษัทอื่นเป็นหลัก ซึ่งแม้ว่า การทำเช่นนี้ จะช่วยให้บริษัท มีรายได้มหาศาลแต่มันก็มีความเสี่ยงว่า ถ้าในอนาคตลูกค้าไม่สั่งซื้อสินค้ากับบริษัทแล้ว จะทำอย่างไรต่อไปหรือ ถ้าหากเกิดเหตุที่กระทบกับ

การขนส่งระหว่างประเทศ บริษัทก็จะได้รับผลกระทบเต็ม ๆดังนั้น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้ บริษัทจึงเริ่มหันมาเน้นการทำตลาดในประเทศ ภายใต้แบรนด์ของตัวเอง อย่าง KC มากขึ้น เพื่อเป็นทั้งการกระจาย

ความเสี่ยง และยังเป็นการเพิ่มโอกาสเติบโตให้แก่ธุรกิจซึ่งหนึ่งในคู่ค้าคนสำคัญ ของแผนการบุกตลาดไทยในครั้งนี้ ก็คือ 7-Elevenโดยมีการวางขายสินค้าภายใต้แบรนด์ KC เช่น ข้าวโพดหวาน, ซุป,

ข้าวต้มมัด, มันม่วงเผา, มันหวานเผา, กล้วยน้ำว้านึ่ง และธัญพืช ซึ่งสินค้าทั้งหมดเป็นแบบพร้อมทานตอบโจทย์ลูกค้าในร้าน 7-Eleven ที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว เพียงแค่ฉีกซองก็สามารถทานได้

แถมยังมาในปริมาณพอเหมาะพอดี สำหรับทานคนเดียวได้ที่สำคัญ การนำสินค้าเข้าไปวางขายในร้าน 7-Eleven ยังช่วยให้ แบรนด์ KC ที่คนไทยไม่คุ้นเคย สามารถเข้าถึงลูกค้า ทั่วประเทศได้ทันทีซึ่งที่

ผ่านมา แผนการบุกตลาดในประเทศของบริษัทก็ถือว่า กำลังไปได้ดีเลยทีเดียวโดยถ้าดูสัดส่วนรายได้ในประเทศไทยปี 2562 รายได้จากการขายในประเทศ 242 ล้านบาท คิดเป็น 12% ของรายได้ทั้งหมดปี

2563 รายได้จากการขายในประเทศ 342 ล้านบาท คิดเป็น 13% ของรายได้ทั้งหมดปี 2564 รายได้จากการขายในประเทศ 435 ล้านบาท คิดเป็น 15% ของรายได้ทั้งหมดจากตัวเลข จะเห็นได้ว่า

รายได้ในไทยมีจำนวน และสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นมาตลอดในทุก ๆ ปีซึ่งนี่ก็อาจเป็นการตอกย้ำว่า บริษัทกำลังมาถูกทาง..เรื่องราวของ SunSweet ถือเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจเพราะถ้าหากบริษัทยึด
ติดอยู่กับธุรกิจเดิม ๆ ที่ตัวเองถนัด และไม่ก้าวออกมาลองอะไรใหม่ ๆซึ่งแน่นอนว่า บริษัทก็จะไม่ต้องเสี่ยงลงทุนลงแรง ไปกับงานที่ไม่รู้ว่าจะสำเร็จไหมแต่ที่แน่ ๆ ก็คือ เราไม่มีทางได้เรียนรู้ หรือพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ เลย..