“มิสฟาโรส จากประเทศอียิปต์ค่ะ” ยูทูเบอร์อารมณ์ดี เจ้าของรายการ ไกลบ้าน
“สวัสดีค่ะ คุณอยู่กับฟาโรส และนี่คือไกลบ้าน” คำพูดเปิดรายการของ ‘ฟาโรส’ – ณัฏฐ์ กลิ่นมาลี ที่ไม่เพียงชวนให้ทุกคนเปิดตารับชมและเปิดหูรับฟังเรื่องราวและประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นระหว่างไปเยี่ยมเพื่อนๆ
ในต่างประเทศทั้งหมดคือความตั้งใจของฟาโรสที่ต้องการสื่อสารไปถึงทุกคนว่า เราต่างเป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนี้
และสิ่งสำคัญคือเราทุกคนดำรงอยู่ในฐานะพลเมืองโลก ซึ่งต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อความเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดขึ้น
และเริ่มต้นสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง เพื่อทำให้ชีวิตของเราและโลกดีกว่าเดิม แม้จะเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยก็ตาม
‘ไกลบ้าน’ ของฟาโรสจึงช่วยให้เราทุกคนเชื่อมโยงสู่กันและกันได้อีกครั้ง พร้อมเปิดโอกาสให้เราประกาศอย่างภูมิใจว่าฉันเป็นพลเมืองโลก
จริงๆ รายการ ไกลบ้าน เกิดจากความไม่ตั้งใจ เพราะเวลาไปเที่ยวที่ไหนก็ตาม เพื่อนๆ จะชอบเล่าเรื่องให้ฟัง แล้วเรารู้สึกเสียดาย จึงบอกเพื่อนว่า หยุด!
แล้วหยิบมือถือขึ้นมาถ่ายวิดีโอเก็บไว้ ส่วนชื่อรายการก็คิดสดๆ ตอนเดินถ่ายวิดีโอ ฉะนั้น ถ้าถามว่า ไกลบ้าน สำหรับเราคืออะไร
คนที่ติดตามมาตั้งแต่แรกจะรู้ว่าไม่ใช่รายการท่องเที่ยว เขาจึงไม่คาดหวังว่าเราจะพาไปดูที่นั่นที่นี่แล้วบอกว่าราคาตั๋วเท่าไหร่ ต้องซื้อยังไง
สิ่งเหล่านี้จะไม่มีในรายการ เพราะ ไกลบ้าน มีคอนเซ็ปต์หลักคือไปเยี่ยมเพื่อน (คนไทย) ที่อยู่ต่างประเทศ
ซึ่งเพื่อนแต่ละคนจะพาไปทำอะไรก็แล้วแต่เขา แต่ส่วนใหญ่มักจะพาไปเดินดูเมือง ดูวิถีชีวิตคน พร้อมกับเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยให้ฟังไปด้วย
เมื่อก่อนเรายังไม่รู้ตัวว่าชอบภาษา รู้แค่ว่าชอบดูการ์ตูนดิสนีย์ค่ะ (หัวเราะ) ด้วยความเป็นเด็ก เราไม่ได้สนใจหรอกว่าชอบเรียนวิชาอะไร
เราสนใจแค่สิ่งที่มันสนุก มันบันเทิง เหมือนเ.ด็.กทุกคนแหละ แต่เราเพิ่งมารู้เมื่อตอนโตแล้วว่า สิ่งที่ดิสนีย์ทิ้งไว้ให้คือทักษะด้านภาษา
เวลาดูการ์ตูนดิสนีย์ เราดูทั้งสองภาษา พอถึงเวลาเรียน โดยเฉพาะช่วงมัธยม เรากลายเป็นคนแรกๆ ที่เข้าใจสิ่งที่ครูสอน
ทั้งที่เราก็เรียนมาเท่าๆ กับคนอื่น เพื่อนก็งงว่าเราไปรู้มาจากไหน มองย้อนไปถึงรู้ว่า อ๋อ เพราะเราเคยมี Input มาก่อน
ตั้งแต่ตอนที่ชอบดูหนังดิสนีย์ ถึงเวลาที่อาจารย์สอนปุ๊บ รูปประโยคแบบนี้ แกรมมาร์แบบนี้ เราเก็ตทันที เช่น “It looks like…” พอได้ยินประโยคขึ้นต้นแบบนี้
สมองเราจะจำว่า look ต้องมี s โดยอัตโนมัติ เพราะเคยได้ยินจากในเพลงมาแบบนี้ ตัวละครมันพูดแบบนี้ จำได้โดยที่ไม่ต้องท่อง
พอเรียนภาษาอังกฤษแล้วเข้าใจมากกว่าคนอื่น ทำให้รู้ว่าฉันน่าจะมาทางนี้แล้วแหละ แล้วไม่ใช่แค่ภาษาอังกฤษอย่างเดียว เราเริ่มสนใจใคร่รู้ในภาษาอื่นๆ ด้วย
ซึ่งมาจากการ์ตูนอีกแล้ว เช่น ทำไมตัวละครตัวนี้ถึงชื่อ Belle แล้วทำไมมันไม่เขียนว่า Bel หรือ Bell ทำไมต้องมีตัว e เพิ่มเข้ามา
ก็ได้คำตอบว่ามันคือภาษาฝรั่งเศส ทำให้ยิ่งอยากรู้ต่อไปอีกว่าภาษาฝรั่งเศสคืออะไร พอขึ้นมอปลายเลยเลือกเรียนศิลป์-ฝรั่งเศส
ยกตัวอย่างง่ายสุด คือเราไม่อินกับทวิตเตอร์ รู้สึกว่าไม่ใช่แนว ขณะที่เด็กทั้งห้องเล่นทวิตเตอร์กันหมด แค่นี้คุณก็ไม่ควรสอนหนังสือแล้วนะ นี่คือสิ่งที่เราบอกตัวเอง
ข้อแรกคือเราจะมี Reference ไม่เหมือนกันแล้ว วิธีสื่อสาร การตัดคำ หรือการรวบใจความให้เหลือประโยคสั้นๆ มันไม่เหมือนกันแล้ว
ให้คนที่อายุไล่ๆ กัน สื่อสารแบบเดียวกัน เป็นคนสอนดีกว่า ปีที่แล้วเราสอนสดด้วยตัวเองแค่สองรอบเท่านั้น จากเมื่อก่อนที่สอนเองเกือบตลอดเวลา
หลังจากเปิดใจกัน ก็รู้สึกดีขึ้นมานิดหน่อย น้องๆ ก็เข้าใจว่าทำไมเราถึงเลือกที่จะไม่ทำให้คลาสมันมีสีสันเหมือนเมื่อก่อนแล้ว พอจบคลาสวันนั้น
น้องหลายคนก็เดินเข้ามาหาเรา บอกว่าพี่เล่นกับหนูได้นะ ไม่ต้องคิดมาก เราบอกว่าพี่ก็อยากเล่นนะ แต่พี่กลัว ร้อยคนก็ร้อยความคิด เราไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วใครคิดอะไรอยู่
อีกด้านหนึ่ง พอเราขยับมาทำยูทูบมากขึ้น มีคนรู้จักมากขึ้น เหมือนมีหมวกอยู่สองใบ ยิ่งต้องระวัง เราไม่รู้ว่าถ้าเผลอพูดหรือทำอะไรไม่ดี มันจะนำไปสู่อะไรอีกหรือเปล่า
มาจากค่าย รด. ตอนมอหก (หัวเราะ) มีช่วงที่ครูฝึกเรียกให้นักศึกษาหญิงออกไปข้างหน้า แล้วให้แนะนำตัวเป็นมิส… มาจากประเทศอะไรก็ว่าไป
เราเป็นคนสุดท้าย แทบไม่เหลือประเทศอะไรให้เล่นแล้ว ก็เลยนึกถึงอียิปต์ “มิสฟาโรส จากประเทศอียิปต์ค่ะ”
ครูฝึกก็งงว่าฟาโรสคืออะไร เราอธิบายว่า ฟาโรส คือฟาโรห์เพศเมียค่ะ คิดขึ้นมาสดๆ ตอนนั้น เฮฮากันไป
พอเข้าปีหนึ่งที่จุฬาฯ มีงานรับน้องก้าวใหม่ ต้องเขียนป้ายชื่อ ตอนแรกจะใช้ชื่อ ณัฏฐ์ แต่รุ่นพี่ถามว่ามีชื่ออื่นไหม
ชื่อที่มันไม่ซ้ำกับใคร เราเลยบอกไปว่า “ฟาโรสค่ะ” อย่างไม่ได้ตั้งใจ จากนั้นก็ใช้ชื่อนี้มาตลอด
ข้อมูลและรูปภาพ: adaybulletin, readthecloud, ladyfarose, Farose