แบรนด์เครื่องประดับอัญมณีชื่อดังสัญชาติเดนมาร์ก
PANDORA เป็นเครื่องประดับสำหรับผู้หญิงทั่วโลก มีตั้งแต่สร้อยข้อมือ แหวน ต่างหู สร้อยคอ และชาร์มที่เราสามารถเลือกได้ว่าจะนำชิ้นไหนมารังสรรค์เป็นสร้อยข้อมือในสไตล์ของตัวเราเอง
ซึ่งมีชาร์มและคลิปคั่นชาร์มให้เลือกถึง 700 ชิ้น บางชิ้นเป็น Limited Edition อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ความพิเศษของ PANDORA คือมีตั้งแต่ระดับหรูหราถึงน่ารักใส ๆ ให้เลือกได้ตามสไตล์ของผู้ใส่โดยไม่จำกัดสไตล์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
เรื่องราวของ PANDORA นั้นเริ่มมาตั้งแต่ปี 1982 โดยช่างทองชาวเดนมาร์กคนหนึ่งชื่อว่า “เพียร์ อีนีโวลด์เซ่น” (Per Enevoldsen) และ“วินนี” (Winnie) ภรรยาของเขาอยากจะข-า-ยเครื่องประดับทำมือ
โดยมีเงื่อนไขว่าวัสดุต้องคุณภาพสูงแต่รา-คาไม่แ-พ-ง จึงตัดสินใจเดินทางมาที่ประเทศไทยเพื่อค้นหาเครื่องประดับไปข-า-ยส่งที่เดนมาร์ก เพราะเห็นว่าเมืองไทยนั้นมีช่างที่ฝีมือประณีตและมีแหล่งอัญมณีคุณภาพ
หลังจากนำเครื่องประดับจากไทยไปข-า-ยที่เดนมาร์กแล้วก็ได้รับความสนใจจากลู-กค้-าเป็นอย่างมาก ทำให้สองสามีภรรยาคู่นี้ตัดสินใจมาเปิดร้านผลิตเครื่องประดับในไทย
โดยเริ่มจากห้องแถวเล็ก ๆ 1 คูหา และปัจจุบันได้ขยายไปกว่า 2,446 สาขาทั่วโลก โดยมีประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ และมีพนักงานมากที่สุดถึง 13,200 คน จาก 27,300 คน นอกจากนี้ ยังเป็นบริ-ษัทข-า-ยเครื่องประดับที่มียอดข-า-ยเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจาก Cartier และ Tiffany’s
PANDORA เชื่อมั่นงานฝีมือในแรงงานไทย ทำให้มีช่างฝีมือกว่า 12,400 คน ในไทย และทุกๆ สินค้าของ PANDORA 1 ชิ้นจะใช้พนักงาน 30 คนหรือ 60 มือทำ
PANDORA ผลิตเครื่องประดับอัญมณีข-า-ยไปทั้งสิ้น 122 ล้านชิ้น ในปี 2559 ผลประกอบการปี 2559 ของ PANDORA คิดเป็นมูลค่า 100,000 ลบ. เติบโตขึ้น 21% เมื่อเทียบกับปี 2558
ผลิตภัณฑ์ของ PANDORA แบ่งเป็นสัดส่วนจี้ประดับและสร้อยข้อมือ 77% แหวน 13% ตุ้มหู 5% สร้อยคอ 5% ซึ่งจี้ประดับและสร้อยข้อมือเป็นสิ-นค้-าที่ข-า-ยดีที่สุด
แพนดอร่ามีแผนขยายการลงทุ-นมูลค่-ารวม 9,000 ลบ. ภายในระยะ 5 ปี (2558-2562) กับ 3 โครงการหลักที่ปักหมุดในประเทศไทย ได้แก่ 1.โรงงานใหม่แห่งที่ 2 สาขาลำพูน ซึ่งเพิ่งเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อต้นปีที่ผ่านมา 2.อาคารใหม่ Triple A กรุงเทพ
โรงงานแห่งนี้กำลังจะเสร็จภายในสิ้นปีนี้ และเปิดดำเนินการจริงต้นปีหน้า มีการนำ LEAN Concept มาใช้ในโรงงานถือเป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมอัญมณี 3.โครงการปรับปรุงอาคารในนิคมอุตสาหกรรมอัญธานี โดยตั้งเป้ากำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
เมื่อเทียบกับปี 2558 หรือสามารถผลิตได้มากกว่า 200 ล้-า-นชิ้นต่อปี ภายในสิ้นปี 2562 พร้อมผลักดันอุตสาหกรรมเครื่องประดับไทยให้มีความโดดเด่นระดับโลก และสร้างอาชีพให้แก่คนไทยประมาณ 20,000 อัตรา
ข้อมูลและรูปภาพ: helenathailand.co, ลงทุนแมน, sentangsedtee.com, brandage.com