THAIS แบรนด์เครื่องหนังรีไซเคิล ผู้ปลุกชีพเศษเป็นรายแรกของโลก
ในกระบวนการผลิตสินค้าเครื่องหนังสัตว์ตามโรงงานต่างๆ จะมีเศษหนังเหลือทิ้.งเป็นขยะปริมาณมหาศาล ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเรื่อยมา ประเด็นดังกล่าว จุดประกายให้สตาร์ตอัพไทย สร้างสรรค์นวัตกรรมปลุกชีพเศษหนัง
ให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้เบ็ดเสร็จเป็นรๅยแรกของโลก ก่อประโยชน์ทั้งด้านเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างมูลค่ๅเพิ่มทางเศรษฐกิจ
คุณธันยวัฒน์ ทั่งตระกูล ผู้ร่วมก่อตั้ง บจก.ธาอีส อีโคเลทเธอร์ ผู้ผลิตนวัตกรรมเครื่องหนังรีไซเคิล แบรนด์ “THAIS” เล่าแรงบันดาลใจ
เกิดจากชื่นชอบเครื่องหนังแฮนด์เมด จึงไปเรียนการตั.ดเ.ย็.บเครื่องหนัง ทำให้พบข้อมูลสำคัญว่า กระบวนการผลิตสินค้าเครื่องหนังสัตว์
ไม่ว่าจะกระเป๋า รองเท้า หรือเฟอร์นิเจอร์ วัสดุหนังที่ถูกใช้งานจริง มีเพียงประมาณ 60% เท่านั้น
ส่วนเศษหนังชิ้นเล็กชิ้นน้อยต้องทิ้ขยะ ซึ่งยากต่อการย่อยสลๅยหรือทำลๅย ไม่ว่าจะเป็นการฝังกลบหรือเผๅทิ้.ง ล้วนก่อให้เกิดม.ลพิ.ษต่อสิ่งแวดล้อม
ยิ่งอุตสาหกรรมเครื่องหนังเติบโตมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งทำให้เกิดขยะเพิ่มมากขึ้น โดยต่อปี ประเทศไทยมีขยะเศษหนัง
มากกว่าเนื้อที่ 12 สนามฟุตบอล ที่ผ่านมา ทั่วทั้งโลก ยังไม่มีกระบวนการนำเศษหนังกลับมารีไซเคิลใช้งานได้จริงๆ เลย
ด้วยความตระหนักถึงผลกระทบอันยิ่งใหญ่ดังกล่าว เป็นที่มาของการเปิด บจก.ธาอีส อีโคเลทเธอร์ (Thais Ecoleathers)
เมื่อปี 2561 ด้วยจุดยืน สร้างสรรค์นวัตกรรมปลุกชีพเศษหนังให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง สามารถสร้างมูลค่ๅเพิ่ม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์
คุณพัณณ์ชิตา ธราดลศิริฐิติกุล อีกหนึ่งผู้ร่วมก่อตั้งธุรกิจ ให้ข้อมูลเสริมว่า กระบวนการรีไซเคิล เริ่มโดยรับซื้.อเศษหนังจากโรงงานผลิตเครื่องหนัง
ปัจจุบันรับซื้.อเฉพาะเ.ศ.ษห.นั.งวัว เพราะมีการใช้งานมากที่สุด โดยผู้ประกอบการยินดีจะขๅยให้อยู่แล้ว เพราะเดิมต้องเสียค่าใช้จ่ๅยว่าจ้ๅงนำเศษหนังไปทำลาย
ขั้นตอนต่อมา คัดแยกเกรดหนังและซักล้างทำความสะอาด ตามด้วยตากแห้งด้วยแสงอาทิตย์ สับหนังให้ละเอียด
จากนั้น นำไปเข้าเครื่องจักรที่คิดค้นพัฒนาขึ้นเอง รีดอัดออกมาเป็นแผ่นหนังผืนเดียวกัน ซึ่งจะเชื่อมสนิทด้วยการคล้องเกี่ยวระดับเส้นใยหนังสัตว์
ที่สำคัญ ตลอดกระบวนการ ไม่ใช้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น นับเป็นนวัตกรรมรายแรกของโลกที่ทำสำเร็จ โดยจดสิทธิบัตรไว้แล้ว
ด้วยนวัตกรรมดังกล่าว ที่ก่อประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม บจก.ธาอีส อีโคเลทเธอร์ จึงคว้ารางวัลจากทั้งภาครัฐ และเอกชน มากมาย
เช่น รางวัลชนะเลิศ เทคโนโลยีสะอาด ปี 2563 จากองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ
รางวัล Demark จากกระทรวงพาณิชย์ รางวัล Best Start-up Award winning 2563 จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เป็นต้น
เบื้องต้น วางแผนทำตลาดแบบ B2B (Business-to-Business) ส่งออกแผ่นหนังรีไซเคิลให้ผู้ผลิตสินค้าเครื่องหนัง
ในกลุ่มประเทศที่ให้ความสำคัญต่อเทรนด์รักษ์สิ่งแวดล้อม อาศัยเปิดตลาดผ่านการออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ
ที่ผ่านมา ได้ผลตอบรับอย่างดีมาก มีออร์เดอร์จากหลากหลายประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มตะวันออกกลาง ขๅยได้มูลค่ๅสูงถึงแผ่นละ 700-1,400 บ. (ขนาด 50×55 ซม.)
ข้อมูลและรูปภาพ: ibusiness.co, baanlaesuan, sentangsedtee