‘แจ๊ส’ – ‘แท็ป’ เจ้าของ Madmatter แบรนด์หมวกและกระเป๋าจากผ้าเหลือใช้
ปัจจุบัน ขยะจากอุตสาหกรรมสิ่งทอนับว่ามีจำน.ว.นมากเป็นอันดับสอง รองจากขยะพลาสติก และยังไม่รวมถึงผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการจ้างงานอย่างไม่ธรรมในโรงงานเสื้อผ้าแฟชันในหลายประเทศ
‘แจ๊ส’ – ธนิสรา โพธิ์นทีไท และ ‘แท็ป’ – ปธานิน งามกิจเจริญลาภ เจ้าของแบรนด์ Madmatter ตระหนักถึงผลกระทบข้อนี้ดี เพราะเมื่อก่อนพวกเขาเป็นแฟนตัวยงของตลาดนัดเสื้อผ้ามือสอง โดยเฉพาะเสื้อกันหนาว เสื้อแจ็กเก็ต กางเกงและผ้าวูลหนาๆ ที่หลายตัวจะออกไปทาง ‘ซื้.อมาเก็บ’ มากกว่า ‘ซื้.อมาใส่’ ทับถมจนล้นทะลักตู้เสื้อผ้า
แต่แทนที่จะเอาเสื้อผ้าเหล่านั้นไปทิ้งเป็นขยะ ทั้งคู่ใช้ ‘ความบ้า’ ในการค้นหาหนทางชุบชีวิตผ้ามือสองพวกนี้ขึ้นมาอีกครั้ง และนำมาดัดแปลง ผสมผสานกับเนื้อผ้าชนิดอื่นๆ จนออกมาเป็นหมวก Madmatter คอลเล็กชันแรก
ที่สินค้าทุกชิ้นมีแค่ใบเดียวในโลก ก่อนจะแตกไลน์ผลิตภัณฑ์ออกมาเป็นกระเป๋าสตางค์และกระเป๋าผ้าสีสวยจากผ้า Dead Stock ในคอนเซ็ปต์ Sustainable Design ที่ชื่อเสียงดังไปไกลถึงต่างแดน
Mad แปลว่าบ้าถูกไหม แบรนด์นี้เริ่มจากความบ้าที่เราเอาเสื้อผ้ามือสอง ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นขยะมาดัดแปลงใหม่ ส่วน Matter แปลว่าประเด็นสำคัญ จึงหมายความว่า ความบ้านั่นแหละคือจุดสำคัญที่ทำให้เกิดแบรนด์นี้ขึ้นมา แล้วก็ในอีกมิติหนึ่งคือเราพยายามให้ชื่อแบรนด์สื่อสารกับลู.กค้าว่า ความบ้าและการเป็นตัวเองเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิต
เอาจริงๆ ตอนแรกเราไม่ได้เริ่มจากการคิดว่าจะทำธุรกิจขนาดนั้น เราแค่เป็นคนชอบซื้.อเสื้อผ้ามือสองมาก ชอบซื้.อพวกเสื้อกันหนาว เสื้อแจ็กเก็ต กางเกงผ้าวูล แล้วก็ไม่รู้ว่าจะเอามาใส่ตอนไหน เพราะประเทศเราร้อนมาก (หัวเราะ)
แต่เราซื้.อเพราะเราชอบสี ชอบเท็กซ์เจอร์ และชอบวัสดุของมัน บางตัวใส่ไม่ได้ด้วยซ้ำ ก็ซื้.อเก็บไว้ จนวันหนึ่งรู้สึกว่าเยอะไปแล้ว ต้องเอาไปทำอะไรสักอย่าง แต่ตอนนั้นไม่ได้คิดว่าจะทำหมวกนะ
แค่อยากทำสินค้าประเภท accessory เช่น กระเป๋า หมวก รองเท้า เพราะไม่ต้องมีไซซ์อะไรมาก เลยวิ่งหาโรงงานกัน แล้วก็ได้คำตอบรับจากโรงงานหมวกเป็นอันดับแรก หมวกจึงกลายเป็นสินค้าตัวแรกของเรา
พอทำไปสักพัก คนเริ่มเห็นภาพจำของแบรนด์เราว่าเป็นแบรนด์ eco รักษ์โลก เอาเสื้อผ้ามือสองมาแปลงโฉมเป็นของใหม่ ฟังเหมือนว่าจะสวยงามนะ แต่จริงๆ แล้วมันกรอบเรามาก จนรู้สึกว่าขยับไปไหนไม่ได้เลย สุดท้ายมันกลับทำให้เรา ทรมานมากๆ เพราะหาผ้ามือสองยากขึ้น ผลิตก็ยาก โรงงานไม่เข้าใจ ทำได้ช้า ทำให้ไม่มีของขๅย
จนมาตั้งคำถามกันว่า แบรนด์ของเราต้องใช้แค่ผ้ามือสองเท่านั้นเหรอ จุดยืนอยู่ตรงไหน ลองมาคุยกันใหม่ไหม นึกภาพให้กว้างขึ้นและพยายามเลิกสื่อสารความ eco ออกไป แต่ก็ยังต้องมีจุดยืนบางอย่างเป็นของตัวเอง
ทำให้เราได้แนวคิดใหม่เป็นเรื่อง Sustainable Design คือหันกลับไปมองเรื่องการออกแบบและฟังก์ชันมากขึ้น ไม่ใช่เอะอะก็จะขๅยแต่คอนเซ็ปต์ eco อย่างเดียว ทำให้เริ่มเรียนรู้เรื่องธุรกิจอย่างจริงจัง ศึกษาช่องว่างทางการตลาด สำรวจกลุ่มลู.กค้าของเรา
ตอนนั้นค้นพบว่า จริงๆ เราชอบคำว่า sustainable มากกว่าคำว่า eco เพราะในความคิดเรา คำว่า eco ไม่มีอยู่จริง คือแค่การที่เราผลิตออกมาแล้วมีคนบริโภคก็นับว่าไม่ eco แล้ว สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือทำอย่างไรให้การผลิตและบริโภคนั้นยั่งยืน
หรือ sustainable มากกว่า แล้วมันไม่ใช่แค่ผลิตภัณฑ์ยั่งยืนนะ โรงงานที่ทำกับเราก็ต้องยั่งยืน อยากจะทำกับเราไปเรื่อยๆ ตัวเราในฐานะคนทำก็ต้องรู้สึกมั่นคง ถึงจะทำไปยาวๆ ได้ ถ้าเราทำแล้วไม่ได้เ.งิ.น ของไม่มีขๅย ก็เหมือนเราเสียสละทุกอย่าง ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่วิธีคิดที่ยั่งยืนต่อตัวเราเลย แล้วเราก็คงทำได้แป๊บเดียว
เราเริ่มตั้งสติได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่เราเริ่มมีผ้า dead stock เข้ามาพอดี พอเราสลัดคำว่า ‘eco’ และ ‘ผ้ามือสอง’ ออกไปจากแบรนด์ได้แล้ว จึงเริ่มมีไอเดียนำผ้า dead stock เข้ามาใช้ในผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ ซึ่งก็คือกระเป๋าผ้า
ส่วนใหญ่แล้วเราจะได้ผ้า dead stock มาจากโรงงาน เพราะเวลาเขาทำออร์เดอร์หนึ่ง เขาก็ต้องมีผ้าที่ผลิตเผื่อเสียอยู่แล้ว โดยจะดีลกับเขาไว้ก่อนเลยว่า ถ้าคุณมีผ้าที่ผลิตมาแล้วเหลือ เราขอซื้.อต่อ
แต่อย่างที่บอกก็คือ ตอนนี้เราเลิกกรอบตัวเองแล้ว ถ้าเราทำกระเป๋าแล้วใช้ผ้ามือสองหรือผ้า dead stock 100% เลยก็จะยาก ยิ่งด้วยสินค้าเราเป็นงานดีไซน์ ถ้ามัวแต่ไปกรอบว่าเอาผ้า dead stock อย่างเดียว
หน้าตาอาจจะไม่ได้ออกมาโดนใจลู.กค้าถึงที่สุด เพราะฉะนั้นเราก็รู้สึกว่า เฮ้ย ไม่เป็นไร เราใช้แค่บางส่วนพอ แล้วเราก็จริงใจกับลู.กค้าไปเลย ด้วยการติดแท็กไว้บนกระเป๋าว่าใบนี้ใช้ผ้ารีไซเคิลกี่เปอร์เซ็นต์
อย่างกระเป๋าที่เราออกมา 3 รุ่น จะมีการใช้ผ้า dead stock เป็นผ้าซับใน ถ้าใครซื้.อไปแล้วสังเกตของเพื่อนจะเห็นว่าผ้าซับในจะไม่เหมือนกันเลย แล้วถ้าซื้.อทางออนไลน์ เราจะมีการ์ดเล็กๆ ที่เขียนชื่อลู.กค้าเองกับมือแนบติดไปทุกใบด้วย เพื่อแสดงความจริงใจและคำขอบคุณ คนซื้.อเขาก็รู้สึกว่าเขาได้อะไรที่มากไปกว่าของชิ้นหนึ่งกลับไปด้วย
4 ปีผ่านไป หากคุณลองเลื่อนดูฟีดบนอินสตาแกรมของแบรนด์จะพบความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากผลิตภัณฑ์สีสันเรียบง่าย รูปแบบเรียบง่าย รูปถ่ายเรียบ ๆ สบาย ๆ มาเป็นสินค้าสีสันสดใส ดีไซน์ทันสมัย และมีความแฟชั่นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากที่เคยมีแค่หมวกและกระเป๋า ก็เพิ่มเสื้อ กางเกง รองเท้า หรือแม้กระทั่งของใช้ในบ้าน
Madmatter เริ่มต้นจากแพสชัน จากความชอบในเสื้อผ้ามือสอง แท็ปและแจ๊สจึงตั้งใจนำมาปรับเปลี่ยนให้เป็นผลิตภัณฑ์เจ๋ง ๆ และก็เจ๋งจริงอย่างที่คิด เพราะจำน.ว.นขๅยพุ่งสูงเกือบหลักหมื่น แต่พวกเขาสังเกตว่าไม่ค่อยมีลู.กค้าถ่ายรูปสินค้าแล้วติดแท็กกลับมา
“เราเลยรู้สึกว่า หรือเขาไม่ภูมิใจในของของเราหรือเปล่า เลยมานั่งคุยกันว่าเพราะอะไร ก็พบว่าตัวคนทำยังไม่ภูมิใจ ยังไม่เชื่อในแบรนด์ตัวเองเลย เราอยากทำของเจ๋ง ๆ แต่ไม่เชื่อว่ามันจะเติบโตเป็นธุรกิจได้
ซึ่งเราคิดผิด” แจ๊สเล่าให้ฟัง เมื่อ 4 ปีก่อน ที่สองนักออกแบบต้องปวดใจกับการทำธุรกิจ พวกเขาเลือกทำแบรนด์ Accessories มากกว่าเสื้อผ้า เพราะตลาดเสื้อผ้าใหญ่มากและไม่คิดว่าจะสู้ไหว
“เมื่อ 4 ปีที่แล้ว เรายังคลำทางไม่เจอ ตอนเริ่มต้นเลยเป็นการต่อสู้ระหว่างดีไซน์กับธุรกิจที่เราหาสมดุลไม่ได้ พอเริ่มมาจากฝั่งอาร์ตและดีไซน์มา ตลอด 4 – 5 ปีที่ผ่านมาก็เลยถูกฝั่งธุรกิจมารบกวนเรื่อย ๆ
แม้จะมียอดข.า.ยเข้ามาตลอด แต่คนทำไม่มีความสุข และเพราะข้อจำกัดเรื่องวัสดุเลยทำให้ไม่สามารถขยายธุรกิจอย่างที่ตั้งใจไว้ ทั้งคู่เลยตัดสินใจใช้ ‘เฮือกสุดท้าย’ ในการปรับแบรนด์ใหม่ ทำของที่ตัวเองก็อยากใช้ ที่ภูมิใจกับมัน ทิ้งทวนทุกอย่างเหมือนคนไม่มีอะไรจะเสีย และถ้าเฮือกสุดท้ายยังไม่สำเร็จ ก็จะไม่ทำ Madmatter ต่อไป
การรีแบรนดิ้งมีหลายระดับ บางแบรนด์ยกเครื่องใหม่ทั้งหมด บางแบรนด์อาจแค่เปลี่ยนโลโก้และอาร์ตไดเรกชัน สำหรับ Madmatter เรียกได้ว่าเปลี่ยนแทบทุกอย่าง ตั้งแต่วัสดุ กล่องพัสดุ สินค้า ไปจนถึงข้อจำกัดที่น้อยลง
สิ่งแรกที่แท็ปและแจ๊สเริ่มทำคือการขยายโจทย์ให้ตัวเอง ศึกษาเรื่อง Sustainability มากขึ้นว่านอกจากเรื่องวัสดุแล้ว อะไรจะช่วยให้สินค้าชิ้นหนึ่งยั่งยืนได้บ้าง และทำใจยอมรับว่า ตราบใดที่ยังมีการผลิตของใหม่และผู้คนยังมีการบริโภคอยู่ ก็ต้องส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว
“เราเปลี่ยนความคิดว่าจะไม่เครียดกับตัวเอง เราเป็นแบรนด์แฟชั่นที่สนใจเรื่องนี้มากกว่าคนอื่น ก็ทำให้ได้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ แต่มันไม่มีทางช่วยได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ถ้าจะเอาร้อยคือต้องไม่ผลิตอะไรใหม่เลย”
การตัดสินใจใหญ่คือเลิกใช้วัสดุจากเสื้อผ้ามือสองที่เป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ เพราะทำยาก ทำให้โรงงานไม่อยากผลิตให้ ถ้ายอมผลิตก็เป็นการไปรบกวนการทำงานปกติของเขา หรือถ้าถึงขนาดต้องขอให้โรงงานเปลี่ยนเครื่องจักรก็ไม่ยั่งยืน
ที่สำคัญราคาสูงและใช้เวลานาน ซึ่งส่งผลต่อไปที่การขๅยให้ลู.กค้าและการขยายธุรกิจ แล้วเปลี่ยนมาใช้วัสดุเดดสต็อกแทน ถ้าสินค้าไหนใช้วัสดุค้างโรงงานไม่ได้ ก็จะสื่อสารกับลู.กค้าอย่างจริงใจ ให้เขาได้เลือกเอง
พวกเขาเข้มงวดกับวัสดุที่ใช้น้อยลง เพื่อให้ขยายธุรกิจให้โตขึ้นได้ และพิถีพิถันกับสินค้าทุกชิ้น ไม่ว่าจะใช้วัสดุแบบไหน ต้องออกแบบดี เป็นวัสดุที่ดี ผ้าดี ตัดเย็บดี ยืดอายุการใช้งานให้ยาวขึ้น ทำให้อยู่กับลู.กค้าได้นาน ๆ ซึ่งช่วยลดการใช้ทรัพยากรได้อีกทางหนึ่ง
แจ๊สเล่าว่า แต่ก่อนเวลาใครถามเรื่องแบรนด์ เธอจะย้ำเสมอว่า จริง ๆ ภาพในหัวมันดีกว่าที่เห็น ซึ่งแท็ปเสริมว่า “ต้องถอยกลับมาว่า เราทำแบรนด์แฟชั่น คนซื้.อของเราจากหน้าตาที่สวยก่อน สตอรี่ข้างหลังคือสิ่งที่เพิ่มคุณค่าอีกที ตอนแรกเราเลือกผิดจุด คิดว่าการรักษ์โลกคือจุดขๅยให้ลู.กค้าสนใจเรา ตอนรีแบรนดิ้งเลยคิดใหม่หมด”
โชคดีที่ทั้งสองได้รู้จักกับ ‘Studio Marketing Material’ สตูดิโอออกแบบที่เป็นลู.กค้า ผู้อาสาทำการรีแบรนด์ครั้งใหญ่ให้กล่องพัสดุ เริ่มที่โจทย์เรื่องกล่องของแจ๊ส ต้องสวยและไม่สร้างขยะเพิ่ม
“กล่องสวย ๆ ที่ใช้กันจะซ้อนสองชั้น แต่เราอยากทำแค่กล่องเดียว เขาเลยบอกว่า ถ้าอย่างนั้นข้างในกล่องต้องเป็นสีเขียว พอถึงมือลู.กค้าสามารถพลิกด้านในออกมา แล้วให้กล่องสีน้ำตาลด้านนอกที่มีแปะชื่อที่อยู่ตราไปรษณีย์ไปอยู่ด้านใน ลู.กค้าก็เอากล่องไปใช้ได้ต่อ
“หรือข้าง ๆ กล่องมีพื้นที่ที่ไม่ได้ส่งผลต่อการใช้งาน เขาเสนอให้ตัดกระดาษตรงนี้ออกมาแล้วทำเป็นแท็กสินค้าแทน” กล่องพัสดุของ Madmatter กลายเป็นสัญลักษณ์ของแบรนด์ควบคู่ไปกับสินค้าดีไซน์เท่
กลายเป็นวัฒนธรรมที่ลู.กค้าต้องหยิบกล้องมาถ่ายวิดีโอ Unboxing แล้วแท็กกลับมาที่ร้าน ทำให้รู้ว่าความภาคภูมิใจของคนทำได้ส่งต่อผ่านสินค้าไปถึงคนรับอย่างตั้งใจเป็นที่เรียบร้อย
หากใครก็ตามนึกถึงแบรนด์ Sustainable Fashion ในประเทศไทย ทั้งแท็ปและแจ๊สอยากให้ Madmatter ติด 3 อันดับแรกในใจเขา
ข้อมูลและรูปภาพ: adaybulletin.com, readthecloud.co, Madmatter Studio, madmatterstudio