นักจิตบำบัด “ดุจดาว วัฒนปกรณ์” คนแรกของประเทศไทย
เธอจบปริญญาตรี จากคณะวารสารศาสตร์ เอกสาขาวิทยุและโทรทัศน์ จากรั้วแม่โดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อเรียนจบ เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกกลุ่มละคร B-Floor Theatre หลังจากนั้น
ประมาณ 2 ปี เริ่มสนใจว่าร่างกายกับจิตใจทำงานร่วมกันอย่างไร จึงตัดสินใจไปเรียนต่อปริญญาโทด้าน Dance Movement Therapy ที่ Goldsmiths University of London ที่อังกฤษ
เคยทำงานเป็นสหวิชาชีพ ที่คลินิคจิตเวชสำหรับเด็กและวัยรุ่น เป็นอาจารย์ สอนนักศึกษาด้านการละคร อีกทั้งมีบทบาทสอนเรื่อง Empathic Communication ให้บุคลากรทางการแพทย์ ในเครือ BDMS
(เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ บริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด ( มหาชน ) ) กระทั่งเป็นผู้ก่อตั้ง Empathy Sauce ที่สร้างพื้นที่ในการเข้าใจตัวเองและพัฒนาตัวเองให้กับผู้สนใจผ่านกระบวนการการรับฟังและศิลปะหลากรูปแบบ
ทั้งยังคงทำ Empathic Communication Workshopให้องค์กรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทำ Podcast R U OK ที่พูดคุย สร้างการรับรู้ด้านจิตวิทยาได้อย่างน่าสนใจ
ดุจดาว วัฒนปกรณ์ Dance Movement Psychotherapist คนแรกของเมืองไทย เพื่อเจาะลึกถึงสิ่งที่อยู่ภายใต้การเคลื่อนไหวของเธอและกระบวนการในการทำงานอันหลากหลาย
ที่ Dance Movement นำพาเธอไปพบเจอ ขยายต่อไปยังงานภาคส่วนต่างๆ ที่ล้วนสัมพันธ์กับการทำความเข้าใจต่อจิตใจที่เชื่อมโยงกับร่างกายอย่างแยกกันไม่ออก
ช่วงที่ดุจดาวเรียนจบหมาดๆ ศาสตร์การบำบัดด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายยังคงเป็นสิ่งใหม่ และไม่ค่อยมีใครรู้จัก ตอนนั้นเธอตั้งใจจะกลับมาแสดงละครเวทีต่อ
และยังไม่รู้ว่าจะใช้สิ่งที่เรียนมาอย่างไรได้บ้าง เธอจึงเริ่มถามไถ่รุ่นพี่ในวงการเดียวกัน จนกระทั่งได้รับเชิญให้ไปเป็นส่วนหนึ่งของ มีรักคลินิก ซึ่งเป็นคลินิกจิตเวชสำหรับเด็กและวัยรุ่น
หลังจากเป็นน้องใหม่ในวงการจิตบำบัดอยู่สักพัก ดุจดาวจับพลัดจับผลูเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลกรุงเทพ โดยโจทย์ใหญ่ของการมาเยือนครั้งนี้คือ
การพัฒนาบุคลากรในโรงพยาบาลให้มีจิตที่รักการบริการและดูแลผู้คนที่มาใช้บริการอย่างเป็นมิตร ดุจดาวจึงเริ่มจากการสอนภาษากายให้ก่อนเป็นอันดับแรก
คุณกำลังหมายความว่าสิ่งสำคัญคือต้องทำให้เขาเห็น ‘สิ่งที่เกิดขึ้นในความเจ็บปวด’ ให้ได้ เราต้องควบคุมให้ได้ว่าเจ็บปวดอะไร แบบไหน เพื่อนำไปสู่การตอบคำถามว่า เจ็บปวดไปเพื่ออะไร
ซึ่งตรงนี้จะเป็นเหมือนช่วงมูฟออนแล้ว คือถ้าคุณตอบได้แล้วว่ากูยังเจ็บอยู่ว่ะ ก็คือมูฟออนไม่ได้ ต้องให้เวลากับมันก่อน แต่ถ้าคุณถามตัวเองไปเรื่อยๆ แล้วรู็สึกว่า เอ้า กูไม่ได้เจ็บขนาดนั้น คุณก็เดินข้ามสะพานที่ชื่อว่ามูฟออนไปได้เลย
คำว่า ‘เชี้ย เจ็บสัส’ ต้องย้อนกลับไปคิดให้ได้ก่อน อะไรที่ทำให้เจ็บจังเลย อ๋อ มันทิ้งฉัน เราเลิกกัน แล้วอะไรที่ทำให้เหตุการณ์นี้มันเจ็บล่ะ อ๋อ เพราะมันโกหกฉันไง อะไรแบบนี้คือการชิ่งอารมณ์ตัวเองให้เกิดการตั้งคำถาม การทบทวน แล้วรู้ว่าผู้ร้ายจากความเจ็บปวดนี้คืออะไร
สำหรับเราคิดว่า สุดท้ายถ้าได้มองเห็นปัญหาก็จะดีกว่า มันได้ปลดปล่อยตัวเองออกจากสิ่งนี้ และได้รู้ว่าอนาคตจะรับมือกับเรื่องแบบนี้ได้อย่างไร
เราอยากเป็นมนุษย์ที่บอก How to move on, How to ไม่เจ็บปวด ให้คนทั้งโลกได้มากเลยนะ แต่สุดท้ายแล้วมันก็ต้องดูเป็นคนคนไป และสุดท้ายยิ่งกว่าคือจะมูฟออนหรือไม่มูฟออน สำหรับเราแล้วไม่ใช่เรื่องถูก-ผิด แต่มันคือการตัดสินใจอย่างหนึ่งของชีวิตมากกว่า
การมีเพื่อนที่รู้ว่าคนที่เสียใจต้องการอะไรอยู่ก็ยิ่งดีสิ ไม่จริง ยิ่งคนไม่รู้อะไรเลยยิ่งดี เราต้องเป็นผู้ฟังที่ดีมากกว่า หรือถึงแม้จะรู้ลึกรู้จริงขนาดไหน เราก็รู้สึกว่าการอยู่เงียบๆ ฟังเขา มันดีกว่าไปแนะนำอะไรนะ
ในแวดวงคนออกกำลังกาย ดุจดาวถือเป็นคนทำงานที่วิ่งอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการวิ่งเทรล (Trail Running) เธอเคยลงแข่งแล้วหลายรายการทั้งที่ไทยและต่างประเทศ
อันที่จริงแล้วเราไม่อยากใช้คำว่า ‘ลงแข่ง’ สักเท่าไหร่นัก เพราะจุดประสงค์หลักในการวิ่งของเธอไม่ใช่การแข่งกับตัวเองหรือใคร ทว่าเป็นความสนุกที่เกิดขึ้นระหว่างทางกับปลายทางมากกว่า
ข้อมูลและรูปภาพ: dujdao_vadhanapakorn, adaymagazine, blog.cariber, the101.world, thestandard.co, becommon.co, adaybulletin