X

CHOM Hand Craft: แบรนด์ไทยอายุ 30 ปี ที่นำผักตบชวามาสาน

CHOM Hand Craft: แบรนด์ไทยอายุ 30 ปี ที่นำผักตบชวามาสาน

หลายคนคงรู้จัก ‘ผักตบชวา’ วัชพืชไร้ร-า-ค-า หรือสวะที่ลอยไปลอยมาอยู่เต็มแม่น้ำจนกลายเป็นเรื่องปกติ แต่พืชไร้ค่-าเหล่านี้กลับเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับ แอล-อิสรัตน์ แซ่ลิ้ม ทายาทรุ่น 2 CHOM Hand Craft และ แม่ชม-รอดรัตน์ ผู้อยู่ในวงการเครื่องจักสานผักตบชวา จังหวัดชัยนาท มายาวนานกว่า 30 ปี

CHOM เริ่มขึ้นจาก ‘แอล’ นักศึกษาจบใหม่จากรั้วมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สาขาวิชาการจัดการการโรงแรม ได้สัมผัสชีวิตการทำงานในฐานะนักศึกษาฝึกงานช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วค้นพบว่าการทำงานประจำไม่ใช่สิ่งที่เธอค้นหา“ตอนนั้นแอลฝึกงานที่โรงแรม ซึ่งต้องทำงาน 6 วัน/สัปดาห์ ไม่ได้ทำแค่สาขาเดียว แต่ทำควบกัน 2 สาขา เราเลยเห็นภาพรวมทั้งหมด

เห็นระบบการทำงานที่เป็นบริษัท เป็นองค์กร ทำให้แอลรู้สึกว่าวิถีชีวิตแบบนี้มันไม่เหมาะกับเรา เราต้องการมีเวลาอยู่กับตัวเอง เรามีหลายสิ่งที่อยากทำ เลยเริ่มคิดว่าเราจะทำยังไงต่อ“มันมีความโชคดีอยู่ตรงที่เราฝึกงานในสายการตลาด ทำการตลาดออนไลน์ ดูแลเพจให้กับโรงแรม ถ่ายภาพ เขียนแคปชัน นี่คือประสบการณ์ที่เราได้รับจากการฝึกงาน และเราสามารถนำมาต่อยอดได้ในชีวิตจริง”

แอลเล่าย้อนถึงตอนที่ CHOM เปิดตัวครั้งแรกผ่านทางเฟซบุ๊กเมื่อปี 2017 สมัยที่เธอยังไม่เข้าใจโลกของผักตบชวามากนัก “ตอนนั้นเราไปหาแฟน แล้วเจอกระจาดลูกไก่ มันไม่เข้ากับไลฟ์สไตล์ชาวร็อกของแฟนแอลเลย พอถามก็ได้คำตอบว่าแม่ชม ซึ่งเป็นแม่ของแฟนเขาทำมา 20-30 ปีแล้ว ตั้งแต่ตอนแฟนยังเรียนมัธยมอยู่เลย”

ประจวบกับตอนนั้นเธอเริ่มมองหางานทำเป็นหลักแหล่ง แน่นอนว่าต้องไม่ใช่งานประจำ เลยเกิดเป็นไอเดียขึ้นมาว่าอยากจะปั้นแบรนด์เครื่องจักสานของแม่ชมให้คนทั่วไปรู้จักมากขึ้น เพื่อให้หลุดพ้นออกจากวงจรการส่งสินค้านับร้อยนับพันชิ้นผ่านนายหน้า แต่ไม่ได้ช่วยส่งเสริมให้ผู้ลงแรงกายและแรงใจในการผลิตชิ้นงานแต่ละชิ้นอย่างแม่ชมมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

“พอถึงช่วงเวลาหนึ่งคุณแม่เริ่มมีอายุมากขึ้น เริ่มมีปัญหาสุขภาพ เพราะทำงานหนัก ซึ่งงานจักสานมันเป็นงานฝีมือ ต้องใช้เวลา ต้องโฟกัสค่อนข้างมาก การเป็นซัพพลายเออร์คนอื่น มันจะมีเรื่องของพ่อค้าคนกลาง สมมติว่าเราทำหมอน เขาเอาไปข-า-ย 100 บ-า-ท แต่เขาจ้างเราแค่ 30 บ-า-ท หากเขามีออร์เดอร์เข้ามาเยอะ ไม่ได้หมายความว่าเราจะได้เงินเพิ่มขึ้น เรายังได้ค่าจ้างเท่าเดิม ในราคา 30 บ-า-ท แต่กลับกลายเป็นว่าเราต้องทำงานเพิ่มขึ้น

“แอลเลยรู้สึกว่าเรื่องแบบนี้มันควรจบลงได้แล้ว อะไรแบบนี้มันควรจบลงสักที คือเราจะไปห้ามคุณแม่ให้เลิกทำมันก็ไม่ได้ เพราะด้วยความที่คุณแม่เป็นคนต่างจังหวัด เขาก็จะชอบหาอะไรทำตลอดเวลา ก็เลยมาหาทางออกกันว่า เราควรทำยังไงกันดี เลยเสนอแม่ว่า ‘เอาอย่างนี้ดีกว่า เรามาพบกันคนละครึ่งทางนะแม่ แอลเคารพการตัดสินใจของแม่ แต่มีเรื่องอะไรก็มาแชร์กับแอลได้’ นับแต่นั้นแอลก็ได้เข้ามาเป็นคนช่วยบริหารแบรนด์ค่ะ”

แอลเล่าถึงความไม่ยุติธรรมที่แม่ชมเคยเจอมาตลอดระยะเวลา 10 ปี ด้วยน้ำเสียงราบเรียบ แต่เราสัมผัสได้ว่าเธอรู้สึกโกรธเคืองไม่น้อยต่อสถานการณ์ที่ครอบครัวของแฟนต้องเผชิญมาในอดีตหลังจากที่เธอเข้ามาช่วยบริหารจัดการ วางระบบหลังบ้าน รับออร์เดอร์ พร้อมทั้งเป็นลูกมือคอยช่วยแม่ชมสานงานอยู่บ่อยครั้ง ยอดขา-ยก็เริ่มโตขึ้นเรื่อย ๆ และที่สำคัญคือแม่ชมมีเวลาไปรดน้ำต้นไม้ ให้อาหารน้องหมา เดินเล่นในสวน มีเวลาให้ยืดเส้นยืดสาย ไม่ต้องนั่งหลังขดหลังแข็งสานงานอยู่บนพื้นเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป

ตัวตนใหม่ แต่ฝีมือระดับตำนานแม้ว่าแม่ชมจะอยู่ในวงการเครื่องจักสานมานาน แต่งานสานที่เคยทำในอดีตกลับไม่เคยมีหลักฐานปรากฏออกมาว่านี่คือฝีมือของ ‘ชม-รอดรัตน์’ ด้วยเหตุนี้ ‘แอล’ ในฐานะช่างภาพและลูกสะใภ้ จึงเริ่มมองหาไอเดียใหม่ ๆ ในการนำเสนอผลงานให้เป็นที่รู้จักผ่านทางเพจเฟซบุ๊กมากขึ้น“ทุกคนจะรู้จักคุณแม่ในชื่อ ‘เปรม’ ซึ่งเป็นชื่อเล่นของคุณแม่ ไม่ใช่ชื่อ ‘ชม’ แอลก็เลยเลือกชื่อจริงของคุณแม่มาตั้ง เพราะไม่มีใครรู้จัก มันเป็นความตั้งใจของเรา ว่าอยากให้ทุกคนรู้จักตัวตนใหม่ เหมือนเป็นการรีเซตทุกอย่างใหม่หมด ฉะนั้นช่วงแรกลูกค้าที่มาซื้อก็จะไม่รู้หรอกว่ายายชมคือใคร ผู้หญิงคนนี้คือใคร ไม่มีใครรู้ รู้แค่ว่าเขาข-ายงานสานประเภทหนึ่งที่มีหน้าตาธรรมดา ๆ ทั่วไปเท่านั้น

“ช่วงแรกก็ยังไม่มีคนรู้จักเรามากขนาดนั้น ส่วนใหญ่ก็คนแถวบ้านนี่แหละที่เขาจะมาช่วยอุดหนุน แอลก็เลยได้ไอเดียขึ้นมาว่า เออ…ทุกคนอยากได้อะไรมาบอกแอลได้ เราลองมาคุยกัน มันก็เลยเริ่มเกิดเป็นงานสั่งทำขึ้นมา ซึ่งแอลใช้วิธีนี้มาตลอด เพื่อให้มันตรงกับความต้องการของแต่ละคนจริง ๆ”แต่การจะทำงานสานผักตบชวาให้โดดเด่นกว่าท้องตลาดทั่วไปนั้น CHOM จะต้องมีความแตกต่าง แอลจึงแลกเปลี่ยนไอเดียกับแม่ชม เพื่อยกระดับงานสานพื้นบ้านให้มีความร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น “ในช่วงแรกของการออกแบบ แอลจะเข้ามาช่วยตั้งแต่ต้นค่ะ แต่ตอนนั้นเราก็ไม่ได้มีองค์ความรู้อะไรเลยนะคะ เราก็ต้องแลกเปลี่ยนกับคุณแม่ว่างานสานแต่ละชิ้นมันมีกระบวนการทำยังไง

“หลังจากเราออกแบบเสร็จ ก็ทดลองขา-ยดู แล้วค่อย ๆ ต่อยอดไป อย่างถ้าลูกค้าต้องการให้กระเป๋าใบนี้มีฝานะ ก็บอกคุณแม่ให้ลองทำแบบมีฝาดูมั้ย มันก็จุดประกายให้เราออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้นมา” ซึ่งการทำตามความต้องการของลูกค้า ทำให้ CHOM ไม่มีสต็อกอยู่ในโกดัง เพราะแอลเชื่อว่างานสานที่เกิดจากความตั้งใจและทุ่มเทของแม่ชมควรได้รับการยอมรับ และเป็นที่รู้จัก ไม่ใช่สินค้าดาษดื่นตามท้องตลาดทั่วไป“งานเรามันไม่คอยใคร” แอลทวนคำพูดของแม่ชมให้เราฟัง พร้อมทั้งขยายความเพิ่มเติมว่า นี่คืองานฝีมือที่เกิดจากความทุ่มเทของแม่ชมจริง ๆ คนสานหลักก็จะมีแค่แม่ชม ส่วนแอลจะเข้ามาช่วยเก็บรายละเอียดเพิ่มเติมในภายหลัง นั่นหมายความว่าในแต่ละเดือนงานที่ผลิตได้จะมีไม่กี่ชิ้น เพื่อให้สินค้าที่จะส่งถึงมือผู้รับมีคุณภาพมากที่สุด

ความตั้งใจและทุ่มเท คือหัวใจสำคัญเมื่อถามถึงเหตุผลที่ไม่จ้างลูกมือมาช่วยทุ่นแรงแม่ชม แอลตอบกลับอย่างไม่ลังเลว่า เพราะงานฝีมือมันไม่ได้เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ แต่ละคนมีกระบวนการทำงานที่ต่างกัน มีความตั้งใจ และความทุ่มเทไม่เท่ากัน“เมื่อก่อนคุณแม่เคยทำงานสานผักตบชวาส่งให้คุณป้าจรวยพร เกิดเสม ประธานกลุ่มหัตถกรรมผักตบชวาบ้านอ้อย จังหวัดชัยนาท ณ ตอนนั้น

จากนั้นก็ขยับออกมาเปิดกลุ่มงานสานที่คุณแม่เป็นหัวหน้ากลุ่มแต่ยังเป็นกลุ่มเครือข่า-ยของคุณป้าจรวยพรที่ยังคงส่งงานให้กันอยู่“ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ แต่ละคนเขามีวิธีทำงานที่ไม่เหมือนกัน ทำช้า ทำเร็ว ความเนี้ยบของงาน เช่น ทำเปล สมมติตรงขอบเปลตัดไว้ที่ 20 นิ้วนะ แต่ไป ๆ มา ๆ ทำไมพอเอามาวัดใหม่เหลือแค่ 18 นิ้ว มันก็เป็นปัญหาประมาณนี้มาเรื่อย ๆ ทำให้เราคุมคุณภาพไม่ได้ แล้วยิ่งช่วงที่ต้องรับงานเยอะ ๆ ความเสียหายก็ตามมาเยอะเช่นกัน”

Related Posts

“น้องปราง” ลูกสาวเบนซ์ พรชิตา ยิ่งโตยิ่งสวย ยิ้มหวาน ตากลม

“น้องปราง” ลูกส…

สวยมากทำเอาคนรักเด็กร้องว้าวกันหนักมาก!

โอ้โห! “น้องดิสนีย์&#…

หล่อสวยยกบ้าน เปิดภาพลูก “พลอย ชิดจันทร์”

หล่อสวยยกบ้าน เปิดภาพลูก &#…

ขึ้นเท่นเป็นลูกสาวเเห่งชาติ

ว้าว! น้องเดมี่ เเปลงโฉมเป็…

“ปุณณ์ ปุณณกันต์” เปิดความหล่อลูกชายคนโต คุณแม่นุสบา

“ปุณณ์ ปุณณกันต์&#822…

“แอลลี่” ทั้งสวยทั้งสดใส

“แอลลี่” ทั้งสว…