โกเด้ง-โฮเด้ง จากพนักงานเครือ C.P. สู่ธุรกิจแฟรนไชส์ ยอ-ดข-า-ย 400 ล.
ร้านแฟรนไชส์ก๋วยเตี๋ยวที่คนไทยคุ้นเคย หนึ่งในนั้นน่าจะมีแบรนด์ โกเด้ง-โฮเด้ง อยู่ในใจเพราะเป็นร้านก๋วยเตี๋ยวที่มักจะไปปรากฏอยู่ตามหน้าร้านสะดวกซื้อ ตามถนน ตรอกซอกซอย หรือริมทางเท้า ทั่วประเทศโดยเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งคือ จะมีสัญลักษณ์ “เปิบพิสดาร” ติดไว้บนป้ายของร้าน เพื่อการันตีถึงความอร่อย
แบรนด์ โกเด้ง-โฮเด้ง อยู่ภายใต้การบริหารของ บริษัท บิ๊กบอล ฟู้ด จำกัด ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2545 สำหรับผลประกอบการที่ผ่านมาปี 2560 ทำรายได้ 273 ลบ. กำ–ไ-ร 10 ลบ.ปี 2561 ทำ-ร–า-ยได้ 368 ลบ. กำไร 19 ลบ.ปี 2562 ทำรายได้ 466 ลบ. กำ-ไ-ร 21 ลบ.จากร้านก๋วยเตี๋ยวข้างทางบ้าน ๆ
ต่อยอดเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ จนปัจจุบันเป็นแบรนด์ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องเมื่อเห็นร-า-ยได้แล้ว หลาย ๆ คนอาจอยากรู้ที่มาที่ไป บนเส้นทางความสำเร็จนี้ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ?ย้อนรอยถึง คุณเลิศพงศ์ ฉัตรมาลีรัตน์ ที่ชีวิตในวัยเด็ก เติบโตมาจากครอบครัวชาวไร่ ชาวสวน
ที่ทำอยู่ในพื้นที่เช่าของเพื่อนบ้านในกรุงเทพฯ แต่หลังจากสัญญาเช่าหมดลง ครอบครัวได้ตัดสินใจย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่อําเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และเปิดร้านโชห่วยในเวลาต่อมาหลังจากนั้น ตัวคุณเลิศพงศ์ก็ได้มาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และหลังจากเรียนจบ ได้มีโอกาสเข้าไปทำงานในบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด หรือ C.P. Groupโดยมีหน้าที่ดูแลการขายอาหารสัตว์และสายพันธุ์สัตว์ แต่หลังจากทำงานได้ 5 ปี ก็ได้ออกมาทำงานในโรงงานขนม ตามคำแนะนำของเพื่อน
พอทำได้ 5 ปี ก็ค้นพบว่า นี่ไม่ใช่สิ่งที่เขาตามหาบนเส้นทางชีวิตของเขา
เมื่อเป็นเช่นนั้น คุณเลิศพงศ์ จึงตัดสินใจลองเสี่ยง ด้วยการลาออกมา พร้อมกู้เงินธนาคารเป็นเงินจำนวน 200,000 บ. เพื่อมาลงทุนเปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยวซึ่งเหตุผลที่เปิดร้านก๋วยเตี๋ยว ก็เพราะความชอบส่วนตัว รวมถึงพี่ชายและน้องชายของคุณเลิศพงศ์ เปิดโรงงานผลิตลูกชิ้นอยู่แล้ว
จากข้อได้เปรียบนี้ บวกกับเงินที่กู้มา และความสามารถด้านการขายที่สั่งสมมากว่า 10 ปีคุณเลิศพงศ์จึงได้วางเป้าหมายไว้ 2 ส่วนด้วยกัน คือ1) จะใช้ทักษะของตัวเองสร้างยอ-ดข-า-ย ให้โรงงานผลิตลูกชิ้นของพี่ชายและน้องชาย2) นำลูกชิ้นมาเป็นวัตถุดิบหลัก ในการสร้างร้านก๋วยเตี๋ยวตามความฝันของตัวเอง
Close Adแต่โชคก็เหมือนจะไม่เข้าข้าง เพราะหลังจากผ่านไปไม่นาน พี่ชายและน้องชายก็ไม่ได้ทำโรงงานผลิตลูกชิ้นต่ออย่างไรก็ตาม คุณเลิศพงศ์ก็ยังมองว่า ธุรกิจลูกชิ้นยังคงไปต่อได้ จึงตัดสินใจขอซื้อเครื่องจักรผลิตลูกชิ้นเก่า ๆ ที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อนำมาปรับปรุง จนในที่สุดก็ออกแบบและพัฒนา จนกลายเป็นเครื่องจักรและสูตรลูกชิ้นของตัวเอง
ผนวกกับในช่วงที่ทำงานอยู่ในเครือ C.P. คุณเลิศพงศ์ได้มีโอกาสคลุกคลีและพูดคุยกับเกษตรกรจึงทำให้รู้ว่าอาชีพของพวกเขาค่อนข้างลำบาก จากหน้าแล้งและฝนที่ไม่ตกตามฤดูกาล ทำให้ไม่มีรายได้มาเลี้ยงครอบครัวมากพอนี่จึงเป็นไอเดียที่คุณเลิศพงศ์ นำเอาธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวของตัวเอง ไปบอกเล่าและสร้างแรงบันดาลใจให้กลุ่มเกษตรกรเข้าใจว่า อาชีพขายก๋วยเตี๋ยว ก็เป็นอีกอาชีพ ที่สร้างรายได้ให้กับพวกเขาได้
หลังจากใช้เวลาอยู่นาน ในการทำให้กลุ่มเกษตรกรเกิดความเข้าใจ จนในที่สุดก็มีคนเปิดใจ ทำร้านก๋วยเตี๋ยวตามที่คุณเลิศพงศ์บอกโดยในช่วงแรก คุณเลิศพงศ์ได้สอนขั้นตอนทุกอย่างในการทำ ไม่ว่าจะเป็นสูตรวิธีปรุง การเลือกทำเล การบริการ และอื่น ๆ
เมื่อมีหนึ่งคนทำได้และพบว่าสร้างรายได้ดี จึงเกิดการบอกต่อในกลุ่มเกษตรกรด้วยกันเอง รวมถึงกลุ่มคนอื่น ๆ
สุดท้ายจึงเกิดเป็นแฟรนไชส์ร้านก๋วยเตี๋ยวแบรนด์ “โกเด้ง-โฮเด้ง” ที่เติบโตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันจากเส้นทางธุรกิจของคุณเลิศพงศ์ จะสังเกตเห็นว่า หลังจากทดลองทำงานประจำอยู่ 10 ปี เขาได้เริ่มต้นธุรกิจจากความตั้งใจ แน่วแน่ ซึ่งต่อให้พี่ชายและน้องชาย ไม่ทำโรงงานลูกชิ้นต่อ เขาก็นำเครื่องมาปรับปรุง และพัฒนาสูตร จนเป็นแบบฉบับของตัวเอง ซึ่งถ้าเป็นคนอื่นอาจท้อ และล้มเ-ลิ-กกลางคันไปแล้ว
ที่สำคัญคือการเติบโตของแบรนด์โกเด้ง-โฮเด้ง เกิดจากการอยากสร้างร-า-ยได้ให้กับเกษตรกร ซึ่งถ้าเปรียบเทียบก็คงจะเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้ตัวคุณเลิศพงศ์เอง และเกษตรกร Win-Win ทั้งสองฝ่ายเพราะตราบใดที่คนมีรายได้จากร้านก๋วยเตี๋ยวแบรนด์โกเด้ง-โฮเด้ง ก็จะเกิดการบอกต่อและชักชวนคนรอบข้างให้มาซื้อแฟรนไชส์เพิ่มขึ้น เป็นวงจรแบบไม่รู้จบนั่นเอง..
อ้างอิง:http://www.godeng-hodeng.com/about.html https://sites.google.com/…/tinfin…/home/prawati-khwam-pen-ma https://www.smeleader.com/แฟรนไชส์ลูกชิ้น-โกเด้ง/ https://youtu.be/kFL2-vMw8qw