เปิดตัวหวานใจ ปอย ตรีชฎา
ปอย ตรีชฎา เปิดตัวหวานใจ ที่แท้ทายาทบ้านอาจ้อ ร้านอาหารชื่อดังในภูเก็ตหลังจากที่ ปอย ตรีชฎา อวดรูปคู่หวานใจสุดหล่อผ่านทางเฟซบุ๊ก ไปได้ไม่นานก็มีเหล่าแฟนคลับ เข้ามาแซวทั้งคู่กันอย่างคึกคัก จนบางคนอาจเกิดข้อสงสัยว่า หนุ่มหล่อข้างปอย ตรีชฎา คือใคร ทำธุรกิจอะไรบ้าง จะมาไขข้อสงสัยให้ทุกคนได้หายคาใจกัน
หนุ่มหล่อข้างกาย ปอย ตรีชฎา ก็คือ ภควา หงษ์หยก ทายาทบ้านอาจ้อ ร้านอาหารชื่อดังในเมืองภูเก็ต อีกทั้งยังมีมูลนิธิบ้านอาจ้อช่วยเหลือเด็กในภูเก็ตที่ด้อยโอกาสอีกด้วย
ต้องอธิบายก่อนว่า บ้านอาจ้อ คือ บ้านของทวด อังมอหลาว (บ้านฝรั่ง) ตากอากาศสไตล์จีนโคโลเนียลของคหบดีเหมืองแร่ชาวจีนที่หาดไม้ขาว หลังจากปิดบ้านไว้ถึง 37 ปี ทายาทรุ่นที่ 4
กลับมารีโนเวทให้เป็นมิวเซียม และโฮมเสตย์มีชีวิตที่โรแมนติกที่สุดบนเกาะภูเก็ต และร้านอาหารพื้นเมืองที่การันตีความอร่อยด้วยรางวัลมิชิลินไกด์ โดยพวกเขาตั้งใจทำธุรกิจไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อช่วยอีกหลายชีวิต ช่วยเด็กๆ และพัฒนาชุมชนที่บ้านเกิดเราเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
เรื่องราวความรักของ “โอ๊ค ภควา และ ปอย ตรีชฎา”ถูกเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้ทราบกันเมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมาจากการมีภาพที่หลาย ๆ คนเห็นและถ่ายติดมาได้ จนกระทั้ง “ปอย”ถูกถามเรื่องหัวใจ และเธอบอกว่าแฮปปี้ดี และเป็นที่ยืนยันชัด เมื่อเพจ Baan Ar-Jor บ้านอาจ้อ ออกมายืนยันความสัมพันธ์ของทายาทกับคนบันเทิงชื่อดัง แถมมีแคปชั่นหวานครอบครัวเปิดรับอย่างมีความสุข
ขณะที่เมื่อ 14 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมาทั้ง เฟซบุ๊ก ภควา หงษ์หยก ได้เปิดเผยว่าวันดังกล่าวนั้นคือวันที่ทั้ง 2 คบ คบหากันมานานครบ 1 ปี นั่นเอง เรียกว่าเป็นโมเมนต์ความรักที่คนโสดต่างอิจฉาตาร้อนกันจริง ๆตามข้อมูลที่ถูกบันเทิงไว้ที่กล่าวถึง “หลวงอนุภาษภูเก็ตการเดิม” นั้นท่านมีชื่อว่า “จินหงวน หงษ์หยก” ชีวิตเริ่มต้นจากการกำพร้าบิดาตั้งแต่อายุ 9 ขวบ
เมื่อเติบโตเป็นหนุ่มได้ทำงานอยู่กับพี่ชายคนโต (หลวงประเทศจีนารักษ์) ซึ่งเป็นนายเหมืองพังงา – ภูเก็ต ทำงานอยู่กับพี่ชายจนมีความรู้ความสามารถบ้างจึงขอแยกตัวมาทำเหมืองหาบที่ตำบลวิชิต(บ้านระเงง) อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ตกับเพื่อนๆ และได้ประสบปัญหาจนขาดทุนแทบหมดตัว
แต่ด้วยความมานะพยายามและความอดทน จึงสามารถดำเนินงานเปิดเหมืองสูบแห่งแรกในเมืองไทย โดยที่เป็นผู้ที่ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค จึงพยายามปรับปรุงแก้ไขวิธีการทำเหมืองได้ประสบความสำเร็จโดยการตั้งโรงไฟฟ้าเพื่อใช้ในกิจการทำเหมือง ทำให้ค่าใช้จ่ายในการผลิตแร่ต่ำลง
เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2473 สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตได้เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดโรงไฟฟ้าพร้อม กับลงลายพระหัตถ์ประทานชื่อเหมืองว่า “เจ้าฟ้า” ไว้เป็นที่ระลึกต่อมาเมื่อเดือนมีนาคม 2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกิจการเหมืองเจ้าฟ้า
อันนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงแก่วงศ์ตระกูล “หงษ์หยก” นอกจากดำเนินกิจการเหมืองสูบแล้ว หลวงอนุภาษยังได้ขยายกิจการทำเหมืองเรือขุด, สวนยาง, สวนมะพร้าว, โรงงานแปรรูปไม้,โรงสีข้าว, เรือเดินทะเล ระหว่างภูเก็ต-กันตัง ฯลฯ
เมื่อมีความเจริญก้าวหน้าดีแล้ว จึงได้จัดตั้งบริษัทอนุภาษและบุตร จำกัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2482 โดยได้จัดแบ่งให้ภรรยา บุตร ธิดา เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เพื่อเป็นการสร้างความเป็นปึกแผ่นถาวรให้แก่บุตรธิดาจนถึงปัจจุบันนี้ เพราะได้บำเพ็ญสาธรณประโยชน์ให้กับท้องถิ่นและหน่วยราชการทั้งที่ไม่มีอนุสรณ์และที่มีอนุสรณ์ เช่น สร้างโรงเรียน สร้างวัด ยกที่ดินให้สร้างโรงพยาบาลมิชชั่น ฯลฯ
จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงอนุภาษภูเก็ตการเมื่อ พ.ศ.2474 และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2494นอกจากหลวงอนุภาษจะได้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์เองแล้ว ยังได้อบรมสั่งสอนบุตรหลานให้รู้จักเสียสละ และบำเพ็ญประโยชน์เพื่อท้องถิ่น ซึ่งบุตรหลานทุกคนก็ได้บำเพ็ญตนสืบทอดเจตนารมณ์ของท่าน (ขอบคุณข้อมูล หลวงอนุภาษภูเก็ตการ )