X

นักดนตรีในวงเพื่อชีวิต

เจสซี่ – เมฆ เมฆวัฒนา ‘เทียรี่ เมฆวัฒนา’ นักดนตรีในวงเพื่อชีวิต

 

เจสซี่ – เมฆ เมฆวัฒนา: ความสุข ธรรมชาติ และเสียงดนตรี ของมือกีตาร์ที่มีทุกอย่างเป็นแรงบันดาลใจบางเวลาคนเราต้องเสียใจ ไม่เป็นไรหากเธอต้องร้องไห้” คือท่อนเริ่มต้นของเพลง ‘เเค่เพลงบทหนึ่ง’ ที่ ‘เจสซี่ – เมฆ เมฆวัฒนา’ หรือ ‘Jesse Mek’ เขียนขึ้นจากประโยคที่ผุดขึ้นมาระหว่างนั่งสมาธิ

เริ่มจากความสนใจในกีตาร์เมื่อวัยเด็ก และขอให้ ‘เทียรี่ เมฆวัฒนา’ นักดนตรีในวงเพื่อชีวิต ‘คาราบาว’ ผู้เป็นพ่อสอนเล่น สู่วันที่ไปตั้งวงดนตรีไกลถึงนิวซีแลนด์ ฝึกเขียนเพลงด้วยตัวเอง จนวันที่มีผลงานเพลงออกมาให้ฟังหลายเพลง

เจสซี่มีงานอดิเรกเป็นการเดินทาง มีวิธีพักใจเป็นการนั่งสมาธิ และมีความสุขในชีวิตเป็นเสียงเพลง ร่วมย้อนรอยการเดินทางของชีวิตชายคนนี้ผ่านท่วงทำนองดนตรีที่โลดแล่นระหว่างป็อป ร็อก โฟล์ก และเร็กเก ค้นพบแรงบันดาลใจจากทุกสิ่งรอบตัวไปพร้อม ๆ กับเขา เจสซี่ – เมฆ เมฆวัฒนา

เด็กหนุ่มที่ไม่ว่าเมื่อไรก็มีกีตาร์ข้างกายเสมอเจสซี่ เมฆ: ชีวิตวัยเด็กก็สนุกครับ เพราะว่าจะอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ แบบว่าในรั้วบ้านจะมีบ้านน้า บ้านยาย แล้วก็บ้านแม่กับพ่อ ก็เลยจะมีญาติ ๆ แวะเวียนมาหายาย แล้วก็จะมีน้อง ๆ ลูกพี่ลูกน้อง ญาติ ๆ อะไรอย่างนี้ครับ เวลาที่มีลอยกระทงหรือว่ามีงานสงกรานต์ก็จะนัดกันมาเล่นที่บ้าน

แบบว่ายิงปืนฉีดน้ำกัน หรือว่าเล่นพลุกันในวันลอยกระทง ก็เป็นอะไรที่สนุกนะครับวัยเด็ก แบบน้า ๆ อา ๆ จะมาเจอกัน แล้วก็แก๊งเด็ก ๆ ก็จะอยู่ด้วยกัน จะมีพี่โตสุดพาเล่น เริ่มสนใจดนตรีประมาณอายุ คือจริง ๆ ก็ชอบมาตั้งแต่ประมาณ 10 ขวบ แต่ว่าเริ่มที่อยากจะหัดเรียนจริง ๆ น่าจะประมาณอายุ 12 ครับ แล้วก็ขอให้พ่อสอนกีตาร์

ตอนแรกก็ด้วยมือเราเล็ก พ่อก็บอก เฮ้ย! นิ้วยังยาวไม่พอนะที่จะจับคอร์ด รออีกสักปีสองปีนะ เดี๋ยวจะสอน เราก็แบบรอ ได้หรือยัง แบบปีนี้สอนได้หรือยังครับ นิ้วสั้นยาวพอหรือยัง จนประมาณ 12 – 13 ถึงได้เริ่มหัดจริง ๆ คุณพ่อเป็นครูดนตรีคนแรก ๆ ของคุณด้วยใช่ไหม เขาสอนคุณยังไง

เจสซี่ เมฆ: เขาจะสอนเบสิกเลยครับ สอนเป็นคอร์ด แล้วก็จังหวะ แล้วก็การเปลี่ยนจากคอร์ดหนึ่งไปอีกคอร์ดหนึ่งให้มัน smooth ก็เริ่มจากการจำคอร์ดก่อน 3 – 4 คอร์ด หัดตีจนมัน smooth แล้วก็ค่อย ๆ เพิ่มรายละเอียดเข้ามา จะมีอย่างหนึ่งที่พ่อจะสอนคือเรื่องการวางนิ้วให้มันถูก แล้วก็เรื่องมูฟเมนต์ของนิ้วมือ หลังจากนั้นเราก็เริ่มชอบเอง ก็เลยหาดนตรีฟังเพิ่ม บวกกับดนตรีที่มีตอนนั้นด้วยที่มีในวิทยุ ในซีดีของในห้องพี่สาวหรือญาติ ๆ ก็ค่อย ๆ ซึมซับมาพอจะจำเพลงที่ฟังตอนเด็ก ๆ ได้ไหม

เจสซี่ เมฆ: ตอนเด็ก ๆ ก็มีหมดเลย อย่างเทปที่บ้านก็พวกรวมฮิตแบบว่า ‘My heart goes shalala lala’ แบบว่า ‘Kung fu fighting’ อะไรอย่างนี้ อย่างคาราบาวก็ฟัง ฟังเทปก็เหมือนหยิบเทปที่บ้าน เป็นเด็กมีอะไรก็ลองเอามาเปิด ๆ ดู

พอโตขึ้นมาหน่อยประมาณ 14 – 15 ก็จะเริ่มชอบวงแบบอพาร์ตเมนต์คุณป้า เริ่มรู้จักอะไรอย่างนี้ ชอบ แล้วตอนนั้นเดอะริชแมนทอยก็เพิ่งออกมนต์รักยาเสน่ห์ เหมือนแบบว่ายังเป็นอินดี้ ๆ อยู่เลย แล้วก็เหมือนรุ่นพี่เปิดให้ฟังมั้ง แล้วก็แบบเออเท่ดี ก็ค่อย ๆ เริ่มรู้จัก แต่อย่างวงที่เขาอยู่ในวิทยุ

ใน MTV ใน Channel V แบบว่า ซิลลี่ ฟูลส์, บอดี้สแลม ก็คือฟังอยู่แล้ว เพราะว่าเหมือนเราดูทีวีด้วย มันก็เลยได้ฟังไปโดยอัตโนมัติ หลังจากนั้นที่ชอบดนตรีแล้ว เล่นเป็นแล้ว ได้มีวงเป็นของตัวเองไหมเจสซี่ เมฆ: มีครับ เดี๋ยวเล่าย้อนอีกนิดหนึ่งว่า คือพอเริ่มชอบดนตรีแล้วมันช่วงผมอายุ 13 แม่ส่งไปนิวซีแลนด์ เป็นเหมือนกึ่ง ๆ โรงเรียนประจำ

แต่ไม่ได้นอนในโรงเรียนนะ มันจะเป็นหอแยกออกมา แบบมี supervisor ก็ไปเจอเพื่อน ๆ หลายชาติมาก มีคนจีน คนเกาหลี คนญี่ปุ่น แล้วจะมีเพื่อนคนจีนคนหนึ่ง เขาฟังเพลงเยอะมาก แบบรู้จักวงอังกฤษ วงอะไรที่เท่ ๆ เราก็ไปหมกอยู่ห้องเขา ไปศึกษาการฟังจากเขา ก็รู้จัก Rolling Stones, Bob Dylan จากเขา โห!

ตอนแรกก็แบบวงอะไรเนี่ย ฟังครั้งแรกก็ไม่ได้ชอบนะ อย่าง Rolling Stones รู้สึกมันด้วยวัยเราด้วยมั้งครับ แต่พอฟังรอบที่ 2 เริ่มเหมือนเข้าใจ ไม่รู้เรียกว่าเข้าใจได้ไหมนะ อาจจะรู้สึกว่ามันเริ่มชิน แล้วก็กลายเป็นชอบไป

The Beatles อะไรก็คือเริ่มฟังช่วงที่ไปนิวซีแลนด์นี่แหละครับ แต่ว่าช่วงนั้นวงที่เป็นวงโปรดของผมเลยที่ฝึกกีตาร์ก็คือ Oasis ตอน 14 – 15 นี่แหละครับ ก็เป็นช่วงที่ตั้งวงกับเพื่อนพอดี เป็นวงคนไทย มีกลอง กีตาร์ เบส แล้วก็นักร้อง ก็แกะเพลงแบบง่าย ๆ เลย ตอนนั้นแกะเพลง ‘เธอที่รัก (ชูวับ ชูวับ)’ เวอร์ชัน Paradox แล้วก็ ‘วัดใจ’

ไปเล่นที่โรงเรียน แต่ว่ามันจะมีงานหนึ่งที่เป็นประกวด เป็นแข่งขันวงมัธยม คล้าย ๆ HotWave ของเมืองไทย แต่ว่าชื่อ Smokefree Rockquest เป็นของที่นิวซีแลนด์ แล้วก็จะมีตามเมืองต่าง ๆ ส่วนเมืองที่เราอยู่เนี่ยเป็นเมืองเล็ก เมือง Blenheim มันจะเป็นเมืองเหมือนเมืองทางผ่านมากกว่า

ก็จะจัดที่ stadium เป็นแบบว่าสนามบาสเหมือนประจำอำเภอ สนามบาสประจำจังหวัด แต่ต้องเขียนเพลงเอง นี่ก็เป็นครั้งแรกที่ลองเขียนเพลงชื่อ Busking Man ครับ เป็นเรื่องเกี่ยวกับนักดนตรีเปิดหมวก ก็เขียนมาก่อน คือเราไม่เคยเขียนเพลงเลย ก็หา ๆ คอร์ดที่เราชอบ แล้วก็เขียนมา

แล้วก็ให้อาจารย์ฝรั่งเขาช่วยดูภาษาอังกฤษพวก grammar ให้ แล้วก็ไปแข่งกัน ก็สนุกดี ไม่ได้ชนะ แต่ว่าได้ไปดูบรรยากาศ ได้รู้สึกว่าเราเป็นวง Rock and roll ที่เจ๋งมากในวันนั้นอะไรอย่างนี้ ตอน 15 โอ้โฮ! เตรียมตัวอย่างดี คือชุดนี่แบบทุกคนจัดเต็มมาก ยิ่งกว่าซ้อมอีก คือมันเป็นความสนุกตอนนั้นครับพอกลับมาอยู่ประเทศไทยยาว ๆ แล้ว ได้มีวงดนตรีกับเพื่อนที่นี่ไหม หรือทำอะไร

เจสซี่ เมฆ: ตอนที่กลับมานี่อายุ 17 ตอนแรกเลยยังไม่ได้ทำวงดนตรีกับเพื่อน ๆ ครับ แต่เราก็มีเดโมแบบเขียน ๆ อัด ๆ ไว้ แต่ยังไม่ได้เริ่มวงอะไร แล้วก็เหมือนช่วงนั้นมีงาน casting พวกแสดงแล้วว่าง ๆ พอดี มันชื่อ Sausage Mansion ครับ 10 ปีแล้ว ตอนนั้น 17 พอดี แล้วแม่ก็บอก เฮ้ย!

มันมีอันนี้อยู่ ลองไปทำดูไหม ช่วงนี้แบบว่าง เราก็กลับมาเหมือนยังไม่ได้เข้ามหา’ลัย แบบรอ ๆ ระหว่างที่มหา’ลัยจะเปิด ของที่เมืองไทยนะครับ ก็ลองไปดู มันเป็นบทเป็นนักดนตรีด้วย ถ้าให้เปรียบเทียบกันระหว่างงานดนตรีกับงานแสดง เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไรบ้าง

เจสซี่ เมฆ: มันมีความเหมือนและไม่เหมือนอยู่นะผมว่า อย่างดนตรีมันก็มีหลาย part นะครับ อย่างตอนที่เขียนเพลงมันก็จะเป็นช่วงที่เราสร้างสรรค์ ช่วงที่เราคิดอยู่คนเดียว ใส่อะไรก็ได้ เปลี่ยนแปลงนู่นเปลี่ยนแปลงนี่ แต่มันก็จะมี part ที่ต้อง perform บนเวที อันนั้นก็จะมีเรื่องการแสดงเข้ามาเกี่ยวแล้ว โดยที่มันไม่ใช่ acting มันอาจจะเป็นแบบว่า การทำโดยไม่ทำ การให้มันเป็นธรรมชาติ ทำมันบ่อยจนเป็นธรรมชาติเอง

แต่ว่าการแสดงมันก็จะแตกต่างตรงที่สมมติไปออกกองอย่างนี้ เราก็จะได้รับมอบหมายบทมาหรือหน้าที่มา ให้เราไปทำงาน ต้องทำการบ้านเพื่อจะเป็นคาแรกเตอร์ตัวนั้นให้ได้ดีที่สุด หรือใกล้เคียงที่สุด แต่อย่างดนตรีมันเหมือนเป็นจากข้างใน จากตัวเราเองเลย 100% แต่กระบวนการทำ มันก็ไม่ได้มาจากตัวเรา 100%

ใช่ไหม เพราะเราก็ต้องมี sound engineer มีนักดนตรี เพื่อน ๆ คนอื่นที่มาช่วยอัด หรือว่า producer ที่จะช่วยเราคิดต่อได้ในบางอย่าง ก็เลยมองว่ามันมีทั้งเหมือนและแตกต่าง การแสดงจะเป็นเรื่องภาพมากกว่า แล้วก็ดนตรีจะเล่าเรื่องด้วยเสียงถ้าให้เปรียบเทียบกันระหว่างงานดนตรีกับงานแสดง เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไรบ้าง

เจสซี่ เมฆ: มันมีความเหมือนและไม่เหมือนอยู่นะผมว่า อย่างดนตรีมันก็มีหลาย part นะครับ อย่างตอนที่เขียนเพลงมันก็จะเป็นช่วงที่เราสร้างสรรค์ ช่วงที่เราคิดอยู่คนเดียว ใส่อะไรก็ได้ เปลี่ยนแปลงนู่นเปลี่ยนแปลงนี่ แต่มันก็จะมี part ที่ต้อง perform บนเวที อันนั้นก็จะมีเรื่องการแสดงเข้ามาเกี่ยวแล้ว โดยที่มันไม่ใช่ acting มันอาจจะเป็นแบบว่า การทำโดยไม่ทำ การให้มันเป็นธรรมชาติ ทำมันบ่อยจนเป็นธรรมชาติเอง

แต่ว่าการแสดงมันก็จะแตกต่างตรงที่สมมติไปออกกองอย่างนี้ เราก็จะได้รับมอบหมายบทมาหรือหน้าที่มา ให้เราไปทำงาน ต้องทำการบ้านเพื่อจะเป็นคาแรกเตอร์ตัวนั้นให้ได้ดีที่สุด หรือใกล้เคียงที่สุด แต่อย่างดนตรีมันเหมือนเป็นจากข้างใน จากตัวเราเองเลย 100% แต่กระบวนการทำ

มันก็ไม่ได้มาจากตัวเรา 100% ใช่ไหม เพราะเราก็ต้องมี sound engineer มีนักดนตรี เพื่อน ๆ คนอื่นที่มาช่วยอัด หรือว่า producer ที่จะช่วยเราคิดต่อได้ในบางอย่าง ก็เลยมองว่ามันมีทั้งเหมือนและแตกต่าง การแสดงจะเป็นเรื่องภาพมากกว่า แล้วก็ดนตรีจะเล่าเรื่องด้วยเสียง

ฝากผลงานเจสซี่ เมฆ: ก็ฝากเพลง ‘แค่เพลงบทหนึ่ง’ ด้วยนะครับ แล้วก็เพลงเก่า ๆ ที่ปล่อยมาแล้วก็สามารถไปย้อนฟังได้ใน YouTube ของ Me Records แล้วก็ CRAZYMOON ส่วนถ้าอยากติดตามเพลงอื่น ๆ เพลงภาษาอังกฤษที่ทำนอกเหนือจากในค่ายก็จะมีใน YouTube ของผม ก็คือ JESSE MEKWATTANA ฝากติดตามกด subscribe กันด้วยนะครับ จะได้มีคนฟัง เห็นเยอะ ๆ อย่างน้อยก็ช่วยแชร์ด้วยครับผม ขอบคุณครับ เพราะว่าอัลบั้มก็จะเสร็จแล้ว จะได้มีคนเห็นเยอะ ๆ ครับ

Related Posts

“น้องปราง” ลูกสาวเบนซ์ พรชิตา ยิ่งโตยิ่งสวย ยิ้มหวาน ตากลม

“น้องปราง” ลูกส…

สวยมากทำเอาคนรักเด็กร้องว้าวกันหนักมาก!

โอ้โห! “น้องดิสนีย์&#…

หล่อสวยยกบ้าน เปิดภาพลูก “พลอย ชิดจันทร์”

หล่อสวยยกบ้าน เปิดภาพลูก &#…

ขึ้นเท่นเป็นลูกสาวเเห่งชาติ

ว้าว! น้องเดมี่ เเปลงโฉมเป็…

“ปุณณ์ ปุณณกันต์” เปิดความหล่อลูกชายคนโต คุณแม่นุสบา

“ปุณณ์ ปุณณกันต์&#822…

“แอลลี่” ทั้งสวยทั้งสดใส

“แอลลี่” ทั้งสว…